Tuesday, 24 August 2010

Executive and ambasidors in grand opening...local product exhibition ,thailand


บริการประชาชน



images from information division ,CDD










Model of eradicated poverty from thailand,we are flagship of revise all local creative wisdom into export explode out....into many regions of this world,not only ASEAN or Asia zone but now we be fogus from many developing countries of this world...

how we can do the incredible projects like this,come on and visit our local product exhibition ,big OTOP MidYEAR 2010 ,NONTABURI,IMPACT ARENA ,MOENG THONG,THAILAND...ONLY 10 DAYS!!!!

sugar and nice golden time and best auction every day now!

ความเป็นมาของ OTOP

รัฐบาลได้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับประเทศในส่วนกลางและคณะกรรมการระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1) สร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
(2) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน
(3) ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
(4) ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
(5) ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน
เป็น การสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งโดยรัฐบาลสนับสนุนช่วยเหลือด้านความรู้ เทคโนโลยี ทุน การบริหารจัดการ เชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนไปสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

กรมการพัฒนาชุมชน
มีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคง โดยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน เชื่อมโยงไปสู่การดำเนินงานโครงการ OTOP ซึ่งในฐานะที่กรมการพัฒนาชุมชนได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการส่งเสริม การดำเนินงาน OTOP ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน โดยอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการ อำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ) รวมทั้งเป็นอนุกรรมการบริหาร อนุกรรมการส่งเสริมการผลิต อนุกรรมการส่งเสริมการตลาด อนุกรรมการมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ อนุกรรมการ/เลขานุการคณะกรรมการ นตผ. ระดับภูมิภาค และพัฒนาการจังหวัดเป็นอนุกรรมการ/เลขานุการ นตผ.จังหวัด และพัฒนาการอำเภอ เป็นอนุกรรมการ/เลขานุการ นตผ.อำเภอ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ) พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2545

ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มีดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ระดับตำบล มีหน้าที่หลักในกระบวนการจัดเวทีประชาคมเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ดีเด่นของ ตำบลให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น วัตถุดิบ ในท้องถิ่น และแผนชุมชน
ขั้นตอนที่ 2 ระดับอำเภอ มีหน้าที่ในการจัดลำดับผลิตภัณฑ์เด่นตำบลต่างๆ ของอำเภอ การบูรณาการแผน และงบประมาณเพื่อให้การสนับสนุน
ขั้นตอนที่ 3 ระดับจังหวัด มีหน้าที่หลักในการจัดลำดับผลิตภัณฑ์ดีเด่น อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดบูรณาการแผนและงบประมาณเพื่อให้การสนับสนุน
ขั้นตอนที่ 4 และ 5 ระดับส่วนกลาง มีหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์ และแผนแม่บทการดำเนินงาน “OTOP” กำหนดมาตรฐานหลักเกณฑ์การคัดเลือก/ขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบล และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อการสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนแม่บท

ยุทธศาสตร์การพัฒนา OTOP
การดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงจากท้องถิ่นสู่สากลในการพัฒนา คุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ไปสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย จึงได้กำหนดให้ “การส่งเสริมอาชีพผลิตสินค้า OTOP” เป็นนโยบายเร่งด่วนที่สำคัญ เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนในชุมชนท้องถิ่น โดยมอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนเป็นรากฐานเศรษฐกิจ ของประเทศ ซึ่งเริ่มจากการรวมกลุ่มของประชาชนระดับฐานรากในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ ในท้องถิ่นให้เป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างพลังการพึ่งตนเองและ ช่วยเหลือกันของชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพทั้งในระดับบุคคล ระดับครัวเรือน ระดับกลุ่ม ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ตลอดจนเครือข่ายกลุ่มอาชีพต่างๆให้มีความสามารถในการบริหารจัดการตามแนว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพัฒนา ต่อยอดไปถึงระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต่อไป

การขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

ปี พ.ศ. 2544
การจัดกลไกบริหารและบูรณาการการทำงาน
ร่วม กับส่วนราชการ(Ministerial Intergration) กำหนดยุทธศาตร์ แผนงาน/การส่งเสริมเครือข่ายผู้ผลิต OTOP ส่งเสริมกระบวนการผลิต การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ปี พ.ศ. 2545 การค้นหาผลิตภัณฑ์หลัก (In Search of Excellent)
คัดเลือกผลิตภัณฑ์ขึ้นทะเบียนเป็น OTOP ด้วยกระบวนการจัดประชาคมตำบลทั่วประเทศ
จำนวน 80,000 ผลิตภัณฑ์

ปี พ.ศ. 2546
การคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ (OTOP Product Champion : OPC)
เพื่อ ส่งเสริมให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้พัฒนาคุณภาพและรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานสูงขึ้นตามเกณฑ์การคัดสรร ต่างๆ เป็นการสร้างระบบการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ให้เป็นที่ยอมรับของสังคมและผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ และคัดสรรสุดยอด OTOP ในระดับ 1- 5 ดาว จำนวน 31,079 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย ระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ จำนวน 15,507 ผลิตภัณฑ์ ระดับจังหวัด จำนวน 8,640 ผลิตภัณฑ์ และระดับภาค จำนวน 6,932 ผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มความสามารถในการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมาก ขึ้นและมีการจัดงาน OTOP CITY เป็นครั้งแรก

ปี พ.ศ. 2547
การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (Quality & Standard )
ส่งเสริมและสนับสนุนให้สินค้า OTOP ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มอก. อย. ฮาลาล ฯลฯ
ดำเนิน โครงการ Smart OTOP เพิ่มศักยภาพขีดความสามารถของผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 35,179 ราย ดำเนินการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จำนวน 35,179 ราย และดำเนินการคัดสรรสุดยอด OTOPไทย ระดับ 1-5 ดาว จำนวน 26,497 ผลิตภัณฑ์

ปี พ.ศ. 2548
การส่งเสริมด้านการตลาด ( Marketing )
การ พัฒนาสินค้าจากท้องถิ่นสู่สากล เป็นไปตามยุทธศาสตร์ “ Local Links Gobal Reaches” เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ควบคู่กับช่องทางการกระจายสินค้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ที่ได้จัดงาน OTOP CITY เป็นครั้งแรกจัดจำหน่ายสินค้าระดับ 3- 5 ดาว สำหรับตลาดต่างประเทศมีการคัดสินค้า OTOP ระดับ Premium ไปจัดแสดงและจำหน่าย ส่งผลให้ชาวต่างประเทศนิยมสินค้า OTOP และมีหลายประเทศที่เข้ามาศึกษา ดูงาน OTOP ของประเทศไทย

ปี พ.ศ. 2549
การคัดสรร OTOP โดดเด่น In Search of Excellent OTOP
เพื่อ เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด สร้างจุดขาย จุดแตกต่างที่ชัดเจนเพื่อเป้าหมายในการพัฒนาและสนับสนุนด้านต่าง ๆ ตามโครงการคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์เด่นจังหวัด (Provincial Star OTOP : PSO) จำนวน 187 ผลิตภัณฑ์ การจัดประกวดหมู่บ้าน OTOP Village Champion : OVC จำนวน 80 หมู่บ้าน ซึ่งการดำเนินงานหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวควบคู่กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์OTOP ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ตลอดจนการลงทะเบียน OTOP จำนวน 37,840 ราย และคัดสรรสุดยอด OTOP ไทย ระดับ 1- 5 ดาว จำนวน 14,570 ผลิตภัณฑ์

ปี พ.ศ. 2550
ค้นหาผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพทางการตลาด
รวม ถึงการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้ในชุมชน Knowledge Base OTOP: KBO จำนวน 75 เครือข่าย ในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้สามารถจำหน่ายได้ทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ

ปี พ.ศ. 2551
เน้นการส่งเสริมการตลาด
เพื่อ กระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์ความรู้ KBO และกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จำนวน 2,500 กลุ่ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการจัดทำแผนธุรกิจสู่การเป็นผู้ประ กอบการมือาชีพ การลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จำนวน 31,789 ราย และคัดสรรสุดยอด OTOP ไทย ระดับ 1- 5 ดาว จำนวน 11,534 ผลิตภัณฑ์

ปี พ.ศ. 2552
ถึงปัจจุบัน การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development
มี การบูรณาการส่งเสริม OTOP เดิมเน้น product เปลี่ยนเป็นดำเนินการในเชิงบูรณาการและทำให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนมากขึ้น เช่นการโครงการส่งเสริมเยาวชนในท้องถิ่นสืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Young OTOP Camp : YOC) ดำเนินการด้วยยุทธศาสตร์ PSO, OVC, KBO และYOC เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา OTOP

บทบาทของกรมการพัฒนาชุมชน
กรมการพัฒนาชุมชน ได้เข้าไปมีบทบาทในโครงการOTOP ทุกขั้นตอนซึ่งสอดคล้องกับภารกิจในการส่งเสริมกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นให้ เข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและมีส่วนร่วม ในการ ดำเนินงาน โดย กอ.นตผ. ได้มอบหมายให้ กรมฯ เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานกิจกรรม ที่สำคัญโดยสังเขป ดังนี้

1.
การ สำรวจและลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เพื่อจัดทำฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และกำหนดแผนการส่งเสริมและพัฒนา ดำเนินการมาแล้ว จำนวน 3 ครั้ง (ปี2547, 2549, 2551)โดยในปีล่าสุด พ.ศ. 2551 มีผู้ลงทะเบียนจำนวน 31,798 ราย ซึ่งกรมฯ ได้จัดทำโครงการส่งเสริมกลุ่มต่างๆ ทั้งในด้านเทคนิคการผลิต การตลาด บรรจุภัณฑ์ การเป็นผู้ประกอบการที่เข้มแข็ง พัฒนาไปสู่การเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ จนมีผลิตภัณฑ์ได้รับการสนับสนุนให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP จำนวน 69,217 ผลิตภัณฑ์

2. การคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ OTOP ไทย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ OTOP ได้พัฒนาคุณภาพและรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานสูงขึ้นตามเกณฑ์การคัดสรร ต่างๆ เป็นการสร้างระบบการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ให้เป็นที่ยอมรับของสังคมและผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีผลิตภัณฑ์ได้รับการคัดสรรในระดับ 1- 5 ดาว จำนวน 11,534 ผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้ผู้ผลิตมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้มี ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมทั้งใช้เป็นข้อมูลในการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับดาวจนถึงระดับพรีเมี่ยมต่อไป

3.
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปของการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge Based OTOP : KBO) เป็นการขยายผลการดำเนินงานให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยการนำความร่วม มือของสถาบันการศึกษาที่มีอยู่ในชุมชน มาช่วยสนับสนุนให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่ด้อยโอกาสหรือผลิตภัณฑ์ระดับ 1-2 ดาว ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยจัดตั้ง KBO จังหวัด ครบ 75 จังหวัด และสนับสนุนให้ KBO จังหวัด ได้พัฒนากลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในปี พ.ศ. 2552- 2553 ไปแล้ว จำนวน 4,000 กลุ่ม งบประมาณจำนวน 56,243,100 บาท มีมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เป็นเงิน จำนวนทั้งสิ้น 324 ล้านบาท

4.
การดำเนินงานหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว เพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นและพัฒนาหมู่บ้านให้มีความพร้อมในการรอง รับนักท่องเที่ยว พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชน จากการบริการด้านการท่องเที่ยว และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อเผยแพร่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งในปี พ.ศ. 2551- 2552 ได้ดำเนินการจำนวน 16 หมู่บ้าน มีรายได้จากการท่องเที่ยว คิดเป็นมูลค่า 40,000,000 บาท มีประชาชนได้รับประโยชน์ ประมาณ 15,000 คน มีนักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมประมาณ 60,000 คน

5
. การพัฒนาเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน จัดทำแผนการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นการดำเนินการเพื่อการอนุรักษ์ สืบสาน รักษ์สิ่งแวดล้อมของเยาวชน รวมทั้งส่งเสริมให้เยาวชนออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP และบันทึกองค์ความรู้เพื่อการเรียนรู้ต่อไป โดยมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการ 2,685 คน มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชน 75 ผลงาน และบันทึกตำนานภูมิปัญญาท้องถิ่น 78 เรื่อง

6.
การส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับภูมิภาค จำนวน 11 ครั้ง โดยส่งเสริมให้มีการจำหน่ายสินค้าOTOP สลับภูมิภาค เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและเป็นการระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมและสร้างรายได้ ให้แก่ชุมชน ซึ่งมียอดจำหน่ายในปี พ.ศ. 2552 จำนวนทั้งสิ้น 277,999,516 บาท กลุ่มอาชีพได้รับประโยชน์ 32,298 กลุ่ม จำนวน 49,740 คน

กรมการพัฒนาชุมชน
ได้ พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการและสนับสนุนให้เครือข่ายองค์ความรู้ ( KBO) จังหวัด เป็นศูนย์กลางช่วยเหลือการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้สามารถจำหน่ายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดระดับประเทศในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สามารถระบายสินค้าได้มากที่สุด ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลโดย กอ.นตผ.ได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ปีละ 2 ครั้ง คือการจัดงาน OTOP Midyear และการจัดงาน OTOP City โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้

1. OTOP Midyear
ได้จัดมาแล้ว 5 ครั้ง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 รวมยอดจำหน่ายทั้งสิ้น 2,248,709,434 บาท

2. OTOP CITY จั
ดมาแล้ว 6 ครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 5,385,793,562 บาท
ซึ่งประมาณการว่ายอดรายได้จากการจัดงาน TOP Midyear และ การจัดงาน OTOP CITY จะสามารถก่อให้เกิดการขับเคลื่อนของวงจรเศรษฐกิจระดับชุมชน เกิดการหมุนเวียนของเงินทำให้เกิดผลทวีคูณเป็นลูกโซ่อีก 4-5 เท่า โดยจากรายได้ที่จำหน่ายได้จะทำให้มีเงินหมุนเวียนมากกว่า 38,172 ล้านบาท เช่นผู้ผลิต ผู้ประกอบการนำเงินที่ได้จากขายสินค้าไปซื้อวัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่นสำหรับ เตรียมการผลิตเพื่อจำหน่ายและซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคในชีวิตประจำวัน และผู้ขายสินค้าจะสั่งซื้อสินค้ามาจำหน่ายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สินค้ามีการผลิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบเศรษฐกิจในภาพรวมมีความเข้มแข็ง รวมทั้งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวชุมชนและประเทศชาติเจริญก้าวหน้า อย่างยั่งยืน
กรมการพัฒนาชุมชนเป็นผู้ผลักดันสนับสนุนให้เกิดการประชุมสัมมนา ผู้ผลิต ผู้ประกอบ OTOP และได้สรุปผลการระดมความคิดเห็นของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP (สมัชชา OTOP ทั่วไทยครั้งที่ 1 ปี 2552) จากทั่วประเทศกว่า 1,000 คน ระหว่างวันที่ 27-28 กรกฎาคม 2552 ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้เสนอผลให้นายกรัฐมนตรี สนับสนุนให้มีการจัดงาน OTOP Midyear และ OTOP CITY เป็นงานประจำปีและให้มีการจัดงาน OTOP ในภูมิภาคต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ว่ารัฐบาลให้การสนับสนุน OTOP อย่างจริงจังและมีตลาดรองรับสินค้าที่แน่นอน รวมทั้งให้มีกระบวนการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ชัดเจน ดังนี้ (1) จัดให้มีการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ(2) การคัดสรรสุดยอดOTOP ไทย (3) การดำเนินงานหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว (4) การเสริมสร้างเครือข่ายองค์ความรู้ (KBO ) จังหวัด เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (5) การพัฒนาเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (6) การส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
จากผลสำเร็จของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์โครงการ OTOP ของกรมการพัฒนาชุมชนที่ผ่านมา มีผลงานเป็นรูปธรรมและมีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน บริหารงบประมาณได้คุ้มค่าและตอบสนองตรงตามความต้องการของผู้ผลิต ผู้ประกอบการOTOP และประชาชน โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนควบคู่ไปกับการยกระดับความสามารถใน การบริหารจัดการของผู้ผลิต ผู้ประกอบการOTOP ตั้งแต่การพัฒนาคน พัฒนากระบวนการเรียนรู้ไปสู่การพัฒนาอาชีพ กระบวนการผลิต การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและการตลาด ตามหลักการพัฒนาชุมชน และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างครบวงจร ส่งผลให้ชุมชนมีความพอมีพอกิน อยู่ดีกินดีจนถึงระดับมั่งมีศรีสุข สังคมเกิดความสงบสุข มีความสมานฉันท์ เกิดความมั่นคงและความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศต่อไป


http://cdd_cpe.krubpom.com/index.php?option=com_content&view=article&id=26&Itemid=28

No comments:

CDD Photo Album