We always work for people ,by people lower poverty and good participate รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี 2557 “การพัฒนาคนในบริบทประชาคมอาเซียน”
รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย
ปี 2557 “การพัฒนาคนในบริบทประชาคมอาเซียน”
สรุปภาพรวม
รายงานฉบับนี้เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นโดยอิสระโดยได้รับมอบหมายจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP) บทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ปรากฏในรายงานฉบับนี้มิได้สะท้อนความคิดเห็นของรัฐบาลไทย
ยูเอ็นดีพีคณะกรรมการบริหารหรือประเทศสมาชิกของยูเอ็นดีพี รายงานฉบับนี้เป็นผลิตผลความร่วมมือของคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิและคณะทำงานรายงานการพัฒนาคนของยูเอ็นดีพีประเทศไทย
ในวันสุดท้ายของปี 2558
คนไทยจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนขณะนี้ยังประเมินผลที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตคนไทยได้ยากประชาคมอาเซียนเป็นแนวคิดซึ่งแตกต่างจากการรวมกลุ่มระดับภูมิภาคอื่นๆ
ปัจจุบันมีแผนงาน
3 ฉบับที่เป็นกรอบอ้างอิงหลักแต่ประชาคมอาเซียนจะเป็นอะไรและจะมีผลกระทบอย่างไรต่อการพัฒนาคนนั้นขึ้นกับวิธีการที่รัฐบาลของประเทศสมาชิกจะดำเนินการเพื่อแปลงแผนงานเหล่านี้ไปสู่การปฏิบัติ
1.
การพัฒนาคนในประเทศไทย: ความสำเร็จและความท้าทายสำคัญ
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
(United
Nations Development Programme - UNDP) ได้ใช้ดัชนีการพัฒนาคน(Human
Development Index - HDI) ในการติดตามสถานการณ์การพัฒนาคนของแต่ละประเทศ
ประเทศไทยมีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมากว่า
30 ปีในปี 2556 ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 103 จากทั้งหมด 186
ประเทศซึ่งนับเป็นลำดับต้นๆของกลุ่มประเทศที่มี “การพัฒนาคนระดับปานกลาง”
ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา UNDP ประเทศไทยได้ติดตามการพัฒนาคนในประเทศไทยโดยใช้ดัชนีความก้าวหน้าของคน
(Human Achievement Index - HAI) ซึ่งเป็นดัชนีที่ครอบคลุมประเด็นสำคัญของการพัฒนาคนที่ประยุกต์มาจาก
HDI ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยภาพรวมของแนวโน้มการพัฒนาคนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีบทบาทสำคัญในการกำหนดมุมมองด้านการพัฒนาคนของรายงานฉบับนี้
ปัจจุบันคนไทยเกือบทั้งหมดได้รับการคุ้มครองจากระบบประกันสุขภาพส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการประกาศใช้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเมื่อปี
2544 อายุคาดเฉลี่ยของประชากรเพิ่มขึ้นประมาณ 3 ป
ีนอกจากนี้ระบบการคุ้มครองทางสังคมรูปแบบอื่นๆมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างไรก็ตามยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเช่นรายได้ที่เพิ่มขึ้นและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ประชาชนเข้าถึงการศึกษาได้มากขึ้นอัตรานักเรียนต่อประชากรวัยเรียนและจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นแต่คุณภาพการศึกษาทุกระดับยังเป็นความท้าทายสำคัญและยังมีปัญหาความไม่เสมอภาคทางการศึกษา
รายได้เฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องความยากจนลดลงแต่ความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้และความมั่งคั่งยังอยู่ในระดับสูงสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่เป็นเรื่องที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษความเสื่อมโทรมเกิดจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสถาบันครอบครัวมีความตึงเครียดสูงอัตราการหย่าร้างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและหนึ่งในสามของครัวเรือนไทยมีหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้สูงอายุ
รัฐบาลไทยได้วางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมาหลายปีแล้ว
มีการกำหนดนโยบายหลายด้านไว้รองรับสถาบันการศึกษาสถาบันการเงินและองค์กรธุรกิจได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจรายงานการศึกษาเหล่านี้มีข้อสรุปคล้ายคลึงกันเกี่ยวกับเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ด้วยการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทักษะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการเพิ่มความสามารถของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
รายงานฉบับนี้สนับสนุนความคิดเห็นดังกล่าว
แต่จะไม่นำเสนอประเด็นเหล่านี้ซ้ำอีกโดยจะให้ความสำคัญกับการนำเสนอเรื่องผลกระทบของประชาคมอาเซียนที่มีต่อการพัฒนาคนของประเทศไทยผ่านมิติอื่นๆนอกจากการเติบโตทางเศรษฐกิจประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอได้แก่การศึกษาการคุ้มครองทางสังคมและสุขภาพผู้ย้ายถิ่นสิ่งแวดล้อมการพัฒนาจังหวัดรอบนอกความมั่นคงและสิทธิมนุษยชนชุมชนประวัติศาสตร์และประชาชน
2.
ประชาคมอาเซียนคืออะไร
ความคาดหวังความกังวลและแผนงานหลักสังคมไทยตื่นเต้นกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากมีทั้งความคาดหวังและความห่วงใยเรื่องนี้ได้รับความสนใจและสร้างความกระตือรือร้นทั้งในภาครัฐและเอกชนแต่บางกลุ่มมีความวิตกกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการแข่งขันในตลาดแรงงานและการแย่งชิงทรัพยากรซึ่งคาดว่าผู้ที่เข้มแข็งจะได้รับประโยชน์และผู้อ่อนแอจะสูญเสียนอกจากนี้ยังเกรงว่าประชาชนคนธรรมดาจะมีปากเสียงในการกำหนดนโยบายน้อยลงไปอีกและห่วงใยว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะต้องแลกด้วยความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community -
AEC) มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้าง
“ตลาดและฐานการผลิตร่วม” โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการการลงทุนและแรงงานที่มีทักษะฝีมืออย่างเสรีรวมทั้งการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้นเขตการค้าเสรีที่วางแผนกันมากว่าสองทศวรรษจะดำเนินการเกือบเสร็จสมบูรณ์ภายในปี
2558
และหลายฝ่ายก็เริ่มรู้สึกถึงผลกระทบแล้วแต่ยังมีความคืบหน้าไม่มากนักในการดำเนินงานแผนงานอื่นๆเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายการลงทุนบริการและแรงงานที่มีทักษะฝืมือ
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN
Political-Security Community - APSC) เป็นการยืนยันบทบาทด้านความมั่นคงในรูปแบบเดิมของอาเซียนและขยายไปถึงความมั่นคงรูปแบบใหม่ๆที่เกิดขึ้นในระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมานอกจากนี้ยังรวมการแสดงเจตจำนงที่จะส่งเสริมประชาธิปไตยหลักนิติธรรม
สิทธิมนุษยชนธรรมาภิบาลและการควบคุมการทุจริตคอรัปชั่นโดยแผนงานAPSC มีวิสัยทัศน์ว่าอาเซียนจะเป็น
“ประชาคมที่มีกติกาและมีการพัฒนาค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน”
เรื่องนี้จะมีผลในทางปฏิบัติอย่างไรจะต้องติดตามกันต่อไปขณะนี้อาเซียนได้เริ่มดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนและการจัดการข้อขัดแย้งแล้ว
หัวข้อแรกของแผนการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
(ASEAN
Socio-Cultural Community-ASCC) คือ “การพัฒนาคน”
ที่ระบุประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางทั้งการศึกษาสุขภาพชีวิตการงานความยากจนสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของชุมชนจะต้องมีการพัฒนากลไกการทำงานใหม่ๆอีกมากเพื่อขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จอย่างไรก็ดีนับว่าแผนงาน
ASCC ได้แสดงความมุ่งมั่นที่น่าชื่นชม
3.
การศึกษาสำหรับคนรุ่นใหม
.
แม้ว่าประชาคมอาเซียนได้วางแผนเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานไว้อย่างจำกัดและพบอุปสรรคหลายด้านในการดำเนินงานแต่ข้อเท็จจริงคือการเคลื่อนย้ายแรงงานในภูมิภาคเกิดขึ้นมานานแล้วและมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น
ประชาคมอาเซียนเปิดโอกาสให้คนไทยรุ่นใหม่ได้รับการจ้างงานที่ดีขึ้นและมีชีวิตที่เพียบพร้อมมากขึ้นแต่ผู้ที่จะสามารถใช้โอกาสนี้จะต้องมีทักษะด้านภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาประเทศสมาชิกอาเซียนนอกจากนี้ยังต้องมีคุณสมบัติที่จำเป็นต่อการจ้างงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการบางสาขาที่มีอัตราการขยายตัวสูงเช่นเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศและสามารถปรับตัวและมีความพร้อมที่จะทำงานในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันด้วย
ในสองทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยได้ขยายการเข้าถึงการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษาได้มากแม้จะเป็นเรื่องน่าชื่นชมแต่ก็ยังมีจุดอ่อนที่สำคัญสองประการ
ประการแรกคือคุณภาพการศึกษาของไทยตกต่ำลงผลการทดสอบระหว่างประเทศของนักเรียนไทยยังไม่ดีพอและในบริบทประชาคมอาเซียนการขาดทักษะภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่น่าห่วงใยมาก
ประการที่สองผลผลิตของระบบการศึกษาไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานมีผู้เรียนอาชีวศึกษาจำนวนน้อยเกินไปและยังขาดการพัฒนาทักษะสำหรับการทำงานจริง
งานศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นถึงการขาดระบบความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องทุกระดับตั้งแต่ระดับโรงเรียนถึงระดับกระทรวงนอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื้อรังเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงบริการและปัญหาคุณภาพการศึกษาที่แตกต่างกันเยาวชนจากครัวเรือนที่มีรายได้สูงที่สุด
(ควินไทล์ที่ 5) มีโอกาสดีกว่าเยาวชนจากครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ (ควินไทล์ที่ 1)
ถึง 6
เท่าที่จะเข้าเรียนระดับอุดมศึกษานักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่ยากจนมีผลการทดสอบระดับนานาชาติต่ำกว่านักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่รายได้สูงมากความไม่เสมอภาคเหล่านี้ทำให้เด็กจำนวนมากขาดโอกาสในชีวิตและประเทศชาติต้องสูญเสียประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากศักยภาพของเด็กเหล่านี้
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทำให้เกิดความตื่นตัวที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวกระทรวงศึกษาธิการได้ริเริ่มแผนงานโครงการจำนวนมากและเน้นการพัฒนาสมรรถนะภาษาอังกฤษทักษะการทำงานและอาชีวศึกษา
นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนยกลางด้านอาชีวศึกษาของอาเซียน
การบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่นในการดำเนินการอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องยิ่งกว่านั้นในยุคที่ตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจำเป็นที่จะต้องลงทุนเพิ่มเติมให้มีสถานที่และอุปกรณ์เพียงพอที่จะฝึกอบรมทักษะใหม่ๆให้แรงงานสาขาต่างๆและควรมีแผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เสมอภาคทางการศึกษาอย่างจริงจัง
4. การคุ้มครองทางสังคมและสุขภาพ:
ความสำเร็จอย่างยั่งยืนภายใต้แรงกดดันในระยะเวลากว่าทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการจัดให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและได้ขยายการคุ้มครองทางสังคมหลายด้านแต่ก็ยังมีเรื่องที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้หลักประกันทางสังคมแกแรงงานนอกระบบจำนวนมากนอกจากนั้นประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาหลายด้านจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วในการนี้รัฐบาลมีแผนจะจัดการกับความท้าทายนี้ด้วยแนวทางการคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐาน
(Social
Protection Floor)ความต้องการบริการสุขภาพที่ขยายตัวจะส่งผลให้ความต้องการบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทศวรรษหน้าและประชาคมอาเซียนจะมีส่วนเพิ่มแรงกดดันในปัญหาดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้เป็นการยากที่จะประเมินความต้องการที่เพิ่มขึ้นเพราะมีมูลเหตุหลายด้านแรงงานข้ามชาติทักษะต่ำจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในประเทศในลักษณะกึ่งถาวรเป็นปัญหาที่ต้องดูแลเป็นพิเศษความต้องการบริการสุขภาพจากสถานบริการภาคเอกชนกำลังขยายตัวพร้อมกันนี้รัฐบาลก็มีนโยบายจะส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการท่องเที่ยวสำหรับผู้เกษียณอายุและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยในสองทศวรรษข้างหน้าจะส่งผลให้ความต้องการบริการสุขภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย
บริการทางการแพทย์เป็นสาขาหนึ่งที่จะเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแม้ประเทศสมาชิกยังไม่ได้กำหนดรายละเอียดแต่มีความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะต้องพบปัญหาคนไข้จากประเทศเพื่อนบ้านมาใช้บริการมากขึ้นในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ถูกดึงไปทำงานที่ประเทศอื่นในอาเซียนประเทศไทยมีอัตราส่วนบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากรต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนอื่นๆเมื่อการขาดแคลนรุนแรงขึ้นบุคลากรทางการแพทย์จะถูกดึงจากโรงพยาบาลของรัฐไปสถานบริการเอกชนกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญคือโรงพยาบาลในชนบทและสถานพยาบาลต่างๆที่แพทย์มีภาระงานมากและขาดแคลนทรัพยากรดังนั้นรัฐบาลไทยจำเป็นต้องวางแผนด้วยความระมัดระวังเพื่อจัดการกับแรงกดดันเหล่านี้พร้อมกันนี้ควรใช้กลไกของ
AEC ดึงดูดบุคลากรทางการแพทย์จากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามาทำงานในประเทศไทยด้วยเช่นกันในระยะยาวประเทศไทยควรให้ความช่วยเหลืออาเซียนในการพัฒนาระบบประกันสังคมและการดูแลสุขภาพให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
5. ประชากรข้ามพรมแดน:
แรงงานข้ามชาติที่มีทักษะฝีมือต่ำแม้ว่าเงื่อนไขของอาเซียนเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานมุ่งเน้นไปที่กลุ่มแรงงานที่มีทักษะฝีมือซึ่งอาจใช้เวลานานกว่าจะเห็นผลแต่ปัจจุบันมีการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะฝีมือต่ำภายในประเทศอาเซียนเป็นจำนวนมากในเดือนธันวาคม
2555 มีแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียน 1.1
ล้านคนจากเมียนมาร์กัมพูชาและลาวทำงานในประเทศไทยและประมาณการว่ามีแรงงานข้ามชาติทั้งหมดในประเทศไทย
2-4 ล้านคนงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่าแรงงานเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ประเทศไทยได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติมากว่าทศวรรษแต่ขณะนี้ยังมีแรงงานจำนวนมากที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่มีเอกสารหลักฐานและอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกแสวงหาประโยชน์และถูกละเมิดสิทธิรูปแบบต่างๆโรงเรียนโรงพยาบาลและบริการทางสังคมอื่นๆได้พยายามรองรับและดูแลแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ด้วยความรู้สึกเห็นอกเห็นใจและมักให้บริการก่อนและเกินกว่าที่นโยบายของรัฐกำหนดไว้ตั้งแต่ปี
2548
เป็นต้นมาโรงเรียนหลายแห่งรับเด็กย้ายถิ่นเข้าเรียนโดยไม่คำนึงถึงสถานะทางสัญชาติและตั้งแต่ปี
2553 โรงพยาบาลได้รับงบประมาณสนับสนุนการรักษาพยาบาลโดยไม่คำนึงถึงสถานะทางสัญชาติเช่นเดียวกันอย่างไรก็ตามแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการเหล่านี้ด้วยสาเหตุหลายประการรวมทั้งที่เกิดจากลักษณะพิเศษของผู้รับบริการเองด้วยปัจจุบันแรงงานข้ามชาติได้กระจายไปแทบทุกภาคเศรษฐกิจและทุกพื้นที่ของประเทศ
แม้ว่านโยบายของไทยจะตั้งอยู่บนฐานคิดว่าแรงงานเหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวในช่วงการเปลี่ยนผ่านของตลาดแรงงานไทยแต่ในข้อเท็จจริงแรงงานข้ามชาติจำนวนมากได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานาน
หรืออาศัยอยู่แบบกึ่งถาวรนอกจากนั้นยังมีความแตกต่างของระดับรายได้ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยจึงประเมินได้ว่าการเคลื่อนย้ายแรงงานจะไม่ลดลงในอนาคตอันใกล.
ถ้ามีมุมมองระยะยาวในเรื่องนี้ไทยจะได้รับประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติมากขึ้นในขณะที่แรงงานข้ามชาติก็จะมีความเสี่ยงลดลงและได้ประโยชน์มากขึ้นจากการทำงานในประเทศไทยทั้งนี้ควรรวมแรงงานข้ามชาติที่มีเอกสารหลักฐานถูกต้องไว้ในระบบหลักประกันสุขภาพการคุ้มครองทางสังคมและกฎหมายแรงงานและในกระบวนการวางแผนต่างๆควรคำนึงถึงและวางแผนให้ครอบคลุมแรงงานข้ามชาติจำนวนมากนี้ด้วย
6. สิ่งแวดล้อม:
ทำลายมากขึ้นหรือจัดการดีขึ้นปัจจุบันหลายฝ่ายวิตกว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยประชาคมอาเซียนจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานอย่างเกินขอบเขตมีของเสียจากชุมชนและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นรวมทั้งมีการตัดไม้ทำลายป่าและการค้าสัตว์ป่าการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่าอันเนื่องมาจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวและการปลูกพืชเชิงเดี่ยวการเคลื่อนย้ายสารเคมีและของเสียอันตรายข้ามพรมแดนอย่างผิดกฎหมายการปนเปื้อนของจีเอ็มโอและมลพิษ
นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชี้ว่าสิ่งแวดล้อมได้รับการเสนอให้เป็นเสาหลักที่สี่ของประชาคมอาเซียนแต่ต่อมาถูกลดความสำคัญลงเป็นเพียงหัวข้อหนึ่งภายใต้
ASCC ซึ่งอาจแสดงว่าประเด็นสิ่งแวดล้อมจะถูกปล่อยปละละเลย
แต่เมื่อพิจารณาอีกด้านหนึ่งจะพบว่าASCC ตั้งความหวังไว้สูงมากเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและได้กำหนดมาตรการต่างๆไว้อย่างกว้างขวาง
อาเซียนมีศักยภาพสูงที่จะจัดการประเด็นสิ่งแวดล้อมเพราะเป็นเรื่องที่ไม่จำกัดอยู่ภายในเขตแดนแต่ละประเทศ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือปัญหา
“หมอกควัน” หรือมลพิษทางอากาศที่มีสาเหตุจากไฟป่าและไฟไหม้พื้นที่พรุประเทศสมาชิกอาเซียนมีความริเริ่มที่จะดำเนินการเรื่องนี้ทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาคตั้งแต่ต้นทศวรรษที่
1980 จนนำไปสู่ข้อตกลงเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดน (Agreement on Tranboundary
Haze Pollution) ในปี 2545 นับเป็นต้นแบบที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกสำหรับการจัดการประเด็นปัญหาข้ามพรมแดน
แต่การแปลงข้อตกลงไปสู่การปฏิบัติพบอุปสรรคมากและต้องมีการเจรจากันหลายรอบจนกระทั่งในป.2555
อินโดนีเซียได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกับอีก 4 ประเทศอาเซียน
(บรูไนสิงคโปร์มาเลเซียและไทย) เพื่อจัดการกับปัญหานี้
อาเซียนยืนยันว่าการดำเนินการตามหลักฉันทามตินั้นได้ผลแม้บางครั้งต้องใช้เวลาและเรื่องราวของความพยายามควบคุมหมอกควันดูเหมือนจะสนับสนุนทัศนคติเชิงบวกนี้ในกรณีพายุไซโคลนนาร์กิสถล่มเมียนมาร์ในปี
2551 อาเซียนก็สามารถตอบสนองอย่างรวดเร็วด้วยการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อบรรเทาความช่วยเหลือจากภัยพิบัติในกรณีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งต้องรีบเร่งจัดการกับปัญหาอาเซียนก็ตอบสนองได้ค่อนข้างรวดเร็วด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน
(ASEAN
Action Plan on Joint Response to Climate Change) ในปี 2555
ซึ่งประเทศไทยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการส่งเสริมงานวิจัยและการสร้างเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแนวทางหนึ่งในการปรับปรุงระบบการทำงานของอาเซียนโดยยังคงยึดถือหลักการสำคัญที่ยึดมั่นมาเป็นเวลานานคือการเปิดทางให้ภาคประชาสังคมมีบทบาทมากขึ้นในการปรึกษาหารือและดำเนินการต่างๆ
7. การพัฒนาจังหวัดรอบนอกหนึ่งในวิสัยทัศน์ของ
AEC คือการสร้าง “ภูมิภาคที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน”
ปัจจุบันความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้ของประเทศไทยยังอยู่ในระดับสูงและปัจจัยเชิงพื้นที่เป็นสาเหตุสำคัญผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัดต่อหัวประชากรของจังหวัดที่รวยที่สุดและจนที่สุดแตกต่างกันถึง
29 เท่า
แผนแม่บทการเชื่อมโยงระหว่างกันภายในอาเซียน
(ASEAN
Connectivity) มีแนวคิดว่าการลดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและการพัฒนาการสื่อสารที่ดีจะช่วยลดช่องว่างเชิงพื้นที่ขณะนี้กำลังมีการพัฒนาโครงข่ายถนนและแนว
“ระเบียงเศรษฐกิจ” ที่เชื่อมโยงจุดต่างๆบนแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และการประเมินเบื้องต้นชี้ว่าเมืองและจังหวัดที่อยู่ตามแนวเส้นทางเหล่านี้จะได้ประโยชน.การค้าชายแดนและการลงทุนขยายตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองชายแดนที่คนสองฝั่งมีความผูกพันกันทางวัฒนธรรมโดยไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมาย
ปัจจุบันเศรษฐกิจเฟื่องฟูในจุดข้ามแดนบนแนวเส้นทางสายใหม่แต่คนท้องถิ่นกลับรู้สึกว่าผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับคนภายนอกเนื่องจากพวกเขาไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารและถูกกีดกันจากนโยบายที่จัดทำจากภายนอก
รัฐบาลมีนโยบายจะใช้เส้นทางเหล่านี้เป็นกรอบการพัฒนาภูมิภาคต่างๆแต่ยังคงมีปัญหาในทางปฏิบัติการวางแผนอนาคตของเส้นทางเหล่านี้จำเป็นต้องมีจุดเน้นที่ชัดเจนมากขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเมืองชายแดนรวมทั้งให้มีการกระจายประโยชน์สู่เมืองอื่นๆที่อยู่พื้นที่ตอนในของประเทศ
8. ความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน
APSC ได้ขยายขอบเขตพันธกิจด้านความมั่นคงใน
3 ด้าน
ประการแรกอาเซียนได้กำหนดประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่
(non traditional
security) ที่อาเซียนจะดำเนินงานหลายประเด็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่มีผลกระทบข้ามแดน
ประการที่สองคือการขยายบทบาทเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิก
และประการที่สามคือการกำหนดเป้าหมายจะสร้าง“ประชาคมที่มีกติกาและมีการพัฒนาค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน”
โดยจะมุ่งเน้นเรื่อง “การเสริมสร้างประชาธิปไตยหลักธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรมและส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน”
สำหรับประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่เรื่องการควบคุมโรคระบาดการบรรเทาภัยพิบัติและอาชญากรรมข้ามชาติอาเซียนได้พิสูจนว่ามีศักยภาพที่จะเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติซึ่งมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ในปี
2555 ได้มีการก่อตั้งสถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและสมานฉันท์ (ASEAN Institute for Peace
and econciliation - AIPR) ขึ้นแม้ว่าสถาบันนี้ถูกกำหนดบทบาทให้เป็นสถาบันวิจัยมากกว่าเป็นกลไกแก้ไขข้อพิพาท
แต่นักสังเกตการณ์บางคนวิเคราะห์ว่าการก่อตั้งAIPR เป็นการส่งสัญญาณว่าอาเซียนสามารถเอาชนะความไม่เต็มใจที่จะหารือกันในประเด็นข้อพิพาทภายในหรือระหว่างประเทศสมาชิกกลไกด้านสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคของอาเซียนกลายเป็นประเด็นถกเถียงระหว่างฝ่ายต่างๆในระยะแรกของการก่อตั้งมีคำถามว่าหลักการของอาเซียนที่จะไม่แทรกแซงกิจการภายในจะเป็นอุปสรรคต่อการที่อาเซียนจะดำเนินการตามพันธกิจการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในภูมิภาคหรือไม
.
การริเริ่มใหม่ๆที่เป็นการขยายขอบเขตการดำเนินงานด้านความมั่นคงยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น
และทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับสมรรถนะของกลไกที่มีอยู่ในปัจจุบันในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญยิ่งต่อพันธกิจการพัฒนาคนและสมควรที่จะได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง
9.
ชุมชนประวัติศาสตร์และประชาชนในความคิดเห็นของคนทั่วไป
อาเซียนเป็นองค์กรที่มีความเป็นราชการสูงและบางครั้งอาเซียนก็นิยามตัวเองว่าเป็น
“องค์กรระหว่างรัฐบาล” ซึ่งแตกต่างจาก “องค์กรของประชาชน” แต่การใช้คำว่า “ประชาคม” แสดงนัยของการเปลี่ยนแปลงหมายถึงประชาชนจะมีส่วนร่วมมากขึ้นถ้าอาเซียนจะสร้างแรงขับเคลื่อนจากภายในเพื่อให้เจตจำนงของอาเซียนบรรลุผลก็ต้องสนับสนุนให้
“ประชาคม” นี้หยั่งรากอย่างยั่งยืนคำถามคือจะทำอย่างไร
คำอธิบายต่างๆเกี่ยวกับอาเซียนมักเน้นถึงความหลากหลายทั้งในด้านภาษาชาติพันธ์ุระดับความก้าวหน้าทางศรษฐกิจระบบการเมืองศาสนาฯลฯแต่คำอธิบายเหล่านี้จะนำไปสู่การลดทอน
“ความรู้สึกเป็นประชาคม” ทางเลือกอีกแนวทางหนึ่งที่ควรพิจารณานั่นคือการให้ความสำคัญกับสิ่งที่ประชาชนของประเทศสมาชิกมีร่วมกันได้แก่ทำเลที่ตั้งในภูมิศาสตร์เดียวกันหรือมีตำแหน่งแห่งที่เดียวกันบนโลกใบนี้ประวัติศาสตร์ที่มีร่วมกันมายาวนานและประสบการณ์ร่วมในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นยุคอาณานิคมยุคหลังอาณานิคมยุคพัฒนาและยุคโลกาภิวัตน
.
ประวัติศาสตร์ของชาติสมาชิกอาเซียนยกร่างขึ้นในยุคของการสร้างชาติจึงมักบรรยายถึงประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะคู่แข่งเพื่อสร้างความรู้สึกเป็นเอกภาพของคนในชาติประวัติศาสตร์แบบนี้ได้ตอบโจทย์ของยุคสมัยแล้ว
และขณะนี้ควรทดแทนด้วยประวัติศาสตร์ของการแบ่งปันและเรียนรู้สิ่งที่ประเทศต่างๆมีร่วมกัน
ประชาคมหรือชุมชนเกิดขึ้นเมื่อมีคนจำนวนหนึ่งจินตนาการว่าพวกเขามีบางสิ่งบางอย่างเหมือนกันจินตนาการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อพวกเขาได้พบปะและมีประสบการณ์ร่วมกันชุมชนจะต้องมีสถานที่พบปะกันโดยเฉพาะ
“เก้าอี้นั่งเล่นในสวน” สถานที่ซึ่งคนในชุมชนสามารถแลกเปลี่ยนและแบ่งปันกันในขณะที่โลกไซเบอร์อาจทดแทนการพบปะโดยตรงได้ในระดับหนึ่งแต่ศูนย์เรียนรู้และศูนย์ความเป็นเลิศจะมีบทบาทสำคัญในฐานะจุดเชื่อมโยงของชุมชนแห่งใหม่จึงควรสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง
อาเซียนได้พัฒนาช่องทางที่จะเชื่อมประสานกับโลกภายนอกในด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจการที่อาเซียนจะประสบความสำเร็จในการขยายบทบาทด้านสังคมและวัฒนธรรมจำเป็นที่จะต้องมีกลไกที่จะเชื่อมประสานกับภาคประชาสังคม
10. บทสรุป: ข้อเสนอแนะสำคัญ
การก่อตั้งประชาคมอาเซียนนับเป็นการขยายขอบเขตของการรวมกลุ่มจากความร่วมมือด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจให้ครอบคลุมประเด็นที่สำคัญต่อการพัฒนาคนประชาคมที่จะเกิดขึ้นปลายปี
2558
นี้เป็นงานที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาคนของประเทศไทยในบริบทประชาคมอาเซียนจึงไม่หยุดอยู่เพียงการเตรียมประเทศไทยให้สามารถใช้โอกาสและรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นแต่จะต้องสนับสนุนให้ไทยมีส่วนร่วมในการผลักดันให้ประชาคมอาเซียนพัฒนาไปในแนวทางที่จะเกื้อหนุนการพัฒนาคนด้วย
ให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษและบรรจุเรื่องความเสมอภาคไว้ในวาระการศึกษาการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทำให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษาในทุกระดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมรรถนะด้านภาษาและอาชีวศึกษาภารกิจเช่นนี้ต้องการการยืนหยัดและความอดทนเพราะจะต้องใช้เวลานานกว่าจะบรรลุผลนอกจากนี้จำเป็นต้องแก้ไขความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงระบบการศึกษาเพราะเป็นการลิดรอนโอกาสที่เยาวชนจำนวนมากจะเติมเต็มศักยภาพของตนเองและลดทอนโอกาสที่ประเทศชาติจะได้ประโยชน์จากความสามารถของคนเหล่านี้
การเผชิญหน้ากับความท้าทายรอบด้านในการดูแลสุขภาพบุคลากรในระบบสุขภาพภาครัฐต้องเผชิญกับแรงกดดันรอบด้านที่เกิดจากการขยายตัวของระบบสุขภาพถ้วนหน้าปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติแรงกดดันจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุการแข่งขันแย่งชิงบุคลากรจากโรงพยาบาลเอกชนและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการท่องเที่ยวในกลุ่มผู้เกษียณอายุรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นจากพลวัตรของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนับเป็นความท้าทายที่ยากต่อการรับมือเพราะประเด็นที่เกี่ยวข้องหลากหลายและยากจะคาดการณ์การเผชิญหน้ากับปัญหาอย่างทันท่วงทีมีความสำคัญยิ่งต่อการรักษาไว้ซึ่งระบบบริการดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนส่วนใหญ.
แรงงานข้ามชาติ:
สถานภาพการศึกษาสุขภาพภารกิจที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคนที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติมี
3 เรื่อง
หนึ่ง
เพิ่มความพยายามที่จะทำให้ผู้ย้ายถิ่นมีสถานะถูกต้องตามกฎหมาย
เพื่อลดปัญหาการค้ามนุษย์และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
สอง
ขจัดอุปสรรคในการเข้ารับการศึกษาของลูกหลานแรงงานข้ามชาติเพื่อพวกเขาจะได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเองและมีทางเลือกในการดำรงชีวิต
และ
สาม
พัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ดีสำหรับแรงงานข้ามชาติโดยมิให้กระทบต่อบริการที่ให้แก่คนไทย
การวางแผนพัฒนาจังหวัดรอบนอก
จำเป็นต้องวางแผนระดับภูมิภาคโดยกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อเก็บเกี่ยวประโยชน์สูงสุดจากแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจในจังหวัดรอบนอกคนในท้องถิ่นควรได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นและได้
รับเชิญให้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและโครงการสำคัญในพื้นที่
สิ่งแวดล้อม:
ทำให้กรณีหมอกควันเป็นตัวอย่างความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมของประชาคมอาเซียนประเทศไทยควรมุ่งมั่นแก้ปัญหาหมอกควันผ่านกระบวนการความร่วมมือเพื่อพัฒนาประสบการณ์และกลไกที่เหมาะสมสำหรับการจัดการประเด็นสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนอื่นๆ
สิทธิมนุษยชน:
สำคัญเกินกว่าจะยอมแพ้รัฐบาลไทยองค์กรสิทธิมนุษยชนและองค์กรต่างๆที่เคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนควรยืนยันความมุ่งมั่นที่จะพัฒนากลไกด้านสิทธิมนุษยชนภายในอาเซียนให้เข้มแข็ง
บ่มเพาะประชาคม: เชื่อมโยงประชาชน
ความมุ่งประสงค์ของอาเซียนในเรื่องความมั่นคงความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาคนจะประสบความสำเร็จง่ายขึ้นเมื่อประชาชนชาติสมาชิกมีความรู้สึกเป็นเพื่อนร่วมชุมชนแทนที่จะรู้สึกแปลกแยกแตกต่างเช่นในอดีตการปรับเปลี่ยนจากประวัติศาสตร์ยุคสร้างชาติในศตวรรษที่ผ่านมาที่เน้นการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศที่ตอบสนองความต้องการของคนทั้งภูมิภาคการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนกับระชาชน
และการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในกิจการของอาเซียนเป็นปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ
15 May 14 | กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน จัดประชุมคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. และข้อมูลพื้นฐาน ปี 2557 จังหวัดชัยนาท โดยมีนางพรรณี งามขำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท เป็นประธานคณะทำงานฯ นายสมคิด มุสิกอินทร์ พัฒนาการจังหวัดชัยนาท เลขานุการฯ ณ ห้องประชุมหลวงปู [Announcement] |
15 May 14 | สพอ. เวียงเก่าดำเนินงานตามโครงการส่งเเสริมและพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ กิจกรรม การเตรียมเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ |
15 May 14 | จังหวัดอ่างทอง...นายอัศวิน หนูจ้อย พัฒนาการจังหวัดอ่างทอง ตรวจเยี่ยมกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ตำบลบางเจ้าฉ่า โครงการฝึกอบรมผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ด้านการท่องเที่ยว วันที่ 14 พฤษภาคม 2557 [Announcement] |
15 May 14 |
<<<ชลบุรี>>>เปิดหมู่บ้าน OTOP
เพื่อการท่องเที่ยวบ้านเกาะขามใหญ่ ต.ท่าเทววงษ์ อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่
14 พฤษภาคม 2557 โดยได้รับเกียรติจากนายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
เป็นประธาน และนายอดิศร เทพเสนา นายอำเ [Announcement]
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
(The United
Nations Development Programme - UNDP) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)
ได้ร่วมกันจัดทำรายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี 2557 ในหัวข้อ
“การพัฒนาคนในบริบทของประชาคมอาเซียน” โดยให้
ความสำคัญกับมุมมองต่อบริบทใหม่ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงของประชาคมอาเซียน
ที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคนและชุมชนในประเทศไทย
รายงานฉบับนี้
ยกประเด็นสำคัญของความสำเร็จของประเทศไทย
1. การส่งเสริมระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
2. การยกระดับการเข้าถึงการศึกษา
3. รวมทั้งความท้าทายในการเตรียมพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งประชาคมอาเซียน
ทั้งในด้านความไม่เท่าเทียมของการเข้าถึงการศึกษา
4. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว
5. ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. ข้อจำกัดของแรงงานข้ามชาติทักษะต่ำในการเข้าถึงบริการต่างๆ
ของรัฐ
7. ความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน
8. และการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับชุมชน
ประเด็นที่เกี่ยวข้องและสามารถนำมาเป็นข้อสังเกตเกี่ยวกับงานพัฒนาชุมชนโดยภาพรวม
การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับชุมชน อ้างตามเรื่อง ประชาคมอาเซียน
กับชุมชน หน้า 97
1. เรื่องการลดความยากจน
·
การสนับสนุนปฎิบัติการของชุมชน
ได้แก่กิจกรรมที่ริเริ่มโดยชุมชนของรัฐสมาชิกอาเซียนเพื่อลดความยากจน
http://www.th.undp.org/thailand/en/home.html
http://www.dailynews.co.th/Content/economic/227188
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสห
ประชาชาติ (United Nations Development Program : UNDP) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) ได้ร่วมกันจัดทำรายงานการพัฒนาคนของประเทศไทยปี 2557 ในหัวข้อ
“การพัฒนาคนในบริบทประชาคมอาเซียน” โดยให้ความสำคัญกับมุมมองต่อบริบทใหม่ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงของประชาคมอาเซียน
ที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคนและชุมชนในประเทศไทย
ในวันที่
31
ธันวาคม 2558 ประชากรไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วยประชากรประมาณ
600 ล้านคนหรือราว 9 เท่าของจำนวนประชากรไทยในปัจจุบัน
สังคมไทยมีความตื่นตัวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะในแง่ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียน
การค้า และบริการอย่างเสรี
และที่ผ่านมาเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมักจะได้รับความสนใจมากกว่าเสาประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
และเสาประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
การที่ประเทศชาติจะมีการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนได้
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว
แต่ขึ้นอยู่กับการพัฒนาคนภายในประเทศนั้น
ๆ ด้วย
ประเทศไทยได้ยกระดับเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง
และมีผลของดัชนีชี้วัดการพัฒนาคนที่ก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
ปัญหา
1.ในช่วง
30
ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม
ความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจยังไม่ได้มีการกระจายอย่างเท่าเทียม
ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และการเข้าถึงบริการสาธารณะยังคงอยู่ในระดับที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น
ๆ ที่มีรายได้ใกล้เคียงกัน
2.รายงานฉบับนี้ยกประเด็นสำคัญของความสำเร็จของประเทศไทย
อาทิ การส่งเสริมระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การยกระดับการเข้าถึงการศึกษา
การกระจายอำนาจ
และการส่งเสริมการเจริญเติบโตของจังหวัดชายแดนที่มีพื้นที่พรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน
รวมทั้งความท้าทายในการเตรียมพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน
3.ทั้งในด้านความไม่เท่าเทียมของการเข้าถึงการศึกษา
การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว
ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ข้อจำกัดของแรงงานข้ามชาติทักษะต่ำในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของรัฐ
ความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับชุมชน
ที่สำคัญที่สุด
รายงานได้แสดงให้เห็นว่าประชาคมอาเซียนไม่ใช่ผลผลิตสุดท้าย
แต่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ
การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างจริงจังจะนำไปสู่ความเป็นประชาคมที่มีการแลกเปลี่ยนค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน
ซึ่งนำไปสู่การส่งเสริมการพัฒนาคนของอาเซียนต่อไป
ดูรายงานฉบับเต็มได้ที่
www.th.undp.org/thailand/en/home.html
หรือ http://social.nesdb.go.th/social
|
No comments:
Post a Comment