น่าจะมีการจัดซื้อจัดจ้างออนไลน์ได้แล้ว ผู้ซื้อและผู้จ้าง ไม่มีโอกาสเจอตัวกัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจาก ไม่ต้องมีการรอคอยเพื่อผลประโยชน์จาโครงการในอนาคต ที่จะต้องมีการตอบแทนอย่างชัดเจน เนื่องจากมีการหมุนเวียนบุคคลากรกันอย่างหนัก เนื่องจาก ไม่ต้องมารอโครงการ ที่มีผลประโยชน์จากมือที่มองไม่เห็น ไม่ว่า ค่าพาหนะ ค่าเบืียเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าโรงแรม มีการบริหารอย่างโปร่งใสชัดเจน ไม่จำเป็นต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ที่จะรอรับโครงการต่างๆ อยู่ตลอดกาล หรือมีการทำแผน เกี่ยวกับเสันทางการเงิน หรือบุคคลากรอย่างชัดเจน
Clarify about your skill labor and professional labor..that s the way to develop your country...yes or no? no corrupt?
New law for high punishment for bad allocate public budget too..
if you persuade the officers who are manage the public projects for manage all target of money..on bad allocate or take unfair cost from the right targets to support private benefit or organization benefit..you and the suppliers or the customers or stakeholders must be take punishment on top of it.. no scare?if you still get best income..from corrupt ? yes or no?
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000078795
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000078795
มีผลบังคับใช้แล้ว พ.ร.ป. ป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) เพิ่มโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ รับสินบน เริ่มต้นจำคุก 5 - 20 ปี หรือตลอดชีวิต ปรับ 1 - 4 แสน สูงสุดประหารชีวิต ชี้เหตุเพิ่มยาแรงเพราะไทยเข้าร่วมภาคีอนุสัญญา “ยูเอ็นแคค” ตั้งแต่ปี 2554 และกำลังถูกจับตามอง
วันนี้ (12 ก.ค.) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 60 ก ลงวันที่ 9 ก.ค. 2558 ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 โดยมีสาระสำคัญในมาตรา 13 เพิ่มบทบัญญัติการลงโทษอีก 7 มาตราแก่เจ้าหน้าที่รัฐผู้กระทำความผิด คือมาตรา 123/2 มาตรา 123/3 มาตรา 123/4 มาตรา 123/5 มาตรา 123/6 มาตรา 123/7 และมาตรา 123/8 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
โดยเฉพาะใน มาตรา 123/2 บัญญัติว่า ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 5 - 20 ปี หรือจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 1 - 4 แสนบาท หรือประหารชีวิต
และในมาตรา 123/3 บัญญัติว่า ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ กระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่ง โดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งตนได้เรียก รับ หรือยอมจะรับไว้ก่อนที่ตนได้รับแต่งตั้งในตําแหน่งนั้น ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 5 - 20 ปี หรือจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 1 - 4 แสนบาท
อ่านฉบับเต็ม : พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558
สำหรับเนื้อหาที่สำคัญของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 มีดังนี้
มาตรา 13 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 123/2 มาตรา 123/3 มาตรา 123/4 มาตรา 123/5 มาตรา 123/6 มาตรา 123/7 และมาตรา 123/8 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
“มาตรา 123/2 ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ของ องค์การระหว่างประเทศ เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษ จําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต
มาตรา 123/3 ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ของ องค์การระหว่างประเทศ กระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่ง โดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งตนได้เรียก รับ หรือยอมจะรับไว้ก่อนที่ตนได้รับแต่งตั้งในตําแหน่งนั้น ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงยี่สิบปี หรือจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000078795
http://acoc.mof.go.th/wp-content/uploads/2015/01/plan_ministryeditor58-60.pdf
http://acoc.mof.go.th/wp-content/uploads/2015/01/plan_ministryeditor58-60.pdf
No comments:
Post a Comment