Tuesday, 23 December 2008
wut about how to mobilize value in our organization....tough for change????
ผลการประชุมเพื่อสร้างแนวทางการขับเคลื่อนค่านิยมองค์การ โดยทีมงานรับผิดชอบการขับเคลื่อนค่านิยมขององค์กร นำเอาข้อสรุปเรื่องความสำคัญและทิศทางการเสริมสร้างค่านิยมองค์การในหน่วยงานภาครัฐ โดยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมกิจการบ้านเมืองที่ดี และ การนำผลงานที่ประสยความสำเร็จจากการนำเสนอหน่วยงานต้นแบบจากผู้แทน 4 หน่วยงานมาประยุกต์ใช้ รวมทั้งสรุปแนวทางการขับเคลื่อนค่านิยมองค์การของหน่วยงานกองแผนงาน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ดังนี้
กองแผนงาน Planing Division
ฝ่ายอำนวยการ General Assistance Sub- Division
กลุ่มงานนโยบายและยุทธศาสตร์ Policy and Strategic Groups
กลุ่มงานงบประมาณ Budgeting Groups
กลุ่มงานประเมินผล Evaluation Groups
กลุ่มงานวิเทศสัมพันธ์ International Relations Groups
กลุ่มงานติดตามและตรวจราชการ Monitoring and Verifying Groups
งานของกองแผนงานเน้นการบริหารจัดการการสร้างแผน ยุทธศาสตร์ และการตรวจเตรียมงบประมาณให้เหมาะสมในแต่ละปี รวมทั้งมีการตรวจติดตามประเมินผล หลังจากมีการใช้งบประมาณไปในแต่ละปีด้วย
การนำการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีมาประยุกต์ใช้เพื่อให้มีการขับเคลื่อนค่านิยมต้องอาศัยการสร้างจิตสำนึกโดยการปฎิบัติ ในการที่จะเข้าใจถึงการทำงานของพัฒนากรและข้าราชการในระดับภูมิภาคได้ต้อง อาศัยการลงไปทำงาน ประสานและใช้ชีวิตร่วมกับบุคคลากรของกรม ในพื้นที่ ในช่วงระยะเวลาที่มีการกระจายงบประมาณลงมาสู่รากหญ้า มิเช่นนั้น การที่จะกำหนดแผนหรือยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดความสำเร็จจะเป็นไปได้ยาก ดังคำกล่าวของ ดร ชาติชายที่ต้องการให้ข้าราชการรุ่นใหม่ที่มีภูมิหลังที่อยู่ในระดับชนชั้นกลางขึ้นไป และ การศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป ที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อเตรียมการเป็นข้าราชการที่มีจิตสำนึกเรื่องความซื่อสัตย์ คุณธรรม ไม่คดโกง ฉ้อราษฏร์ บังหลวง มีจิตสำนึกในการบริการประชาชน ทำให้ทราบปัญหาประชาชนโดยการเข้าไปกินอยู่อาศัยอยู่กับผู้นำชุมชนและได้รับการดูแลโดยพัฒนากรในพื้นที่ การสร้างข้าราชการให้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยมอันดีงามที่ประชาชนที่แตกต่างกันคาดหวังในเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ไม่เพียงเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมของข้าราชการเหล่านี่ แต่ต้องอาศัย การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ อุปนิสัย เพื่อปรับเปลี่ยนคุณค่าของการดำเนินชีวิตด้วย
จะเห็นได้ว่าหากเอาโอกาสในการปรับค่านิยมในชีวิตให้มีเวลาในทำกิจกรรมต่างๆมากขึ้น คือต้องทำให้โอกาศของการสื่อสารสัมพันธ์ของชุมชนผู้รับบริการจากกองแผนงานได้รับบริการจากกองแผนงานได้สะดวกขึ้น ยกตัวอย่างเรื่องของการใช้การใช้สารสนเทศ หรือการประชุมผ่านวีดีโอคอนเฟอเรนทร์ ที่นักวิชาการ หรือผู้ติดตามดูแลงบประมาณดครงการต่างๆสามารถ ติดตามและกำกับดูแล งานในพื้นที่โตรงการนั้นๆ ได้ โดยผ่านระบบอินเตอร์เนทหรือดาวเทยม
การบริหารงานทางการเงิน หรือการติดามบัญชีรับจ่าย เช่น ในโครงการมีรายละเอียดของงบประมาณโครงการและรายละเอียด สามารถเทียบและตัดบัญชีจากยอดบัญชีของฝ่ายแผนและงบประมาณได้ทันที โดยให้มีการเทียบเคียงยอดกันอย่างเป็นปัจจุบันทุกกิจกรรม โครงการ
ดังั้นั้น การทำโครงการของทุกสำนักกองสามารถติดตามผลได้เป็นข้อมูลปัจจุบันทุกวัน แม้จะเป็นโครงการที่ทำในต่างประเทศ
โอกาสในการประหยัดเวลาและทำประโยชน์ได้มากขึ้น นับเป็นสิ่งที่ดีและเป็นที่ศรทธาแก่ผู้รับบริการ ทั้งในส่วนของพัฒนากรในพื้นที่เองและ ประชาชนผู้รับจัดสรรจากงบประมาณ เช่น งบประมาณเกี่ยวกับการสร้างอาชีพ ของกลุ่มทุน กลุ่มอาชีพ กลุ่มผลิตภัณฑ์ ชุมชน
การที่จะขับเคลื่อนค่านิยม จิตสำนึกในการบริการประชาชน รวมทั้งบุคคลากรในพื้นที่ ดวยความเต็มใจ โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์เฉพาะตนและกลุ่มของตน โดยการเบียดบัง งบประมาณจากโครงการต่างๆ นั้นๆ ต้องอาศัยการจุงใจโดยการให้รางวัลในเรื่องของคุณภาพชีวิต เช่น การตัดยอด การผ่อนบ้าน ผ่อนรถ สวัสดิการ การใหรางวัลเดินทางท่องเที่ยว เช่น การนำยอดจัดสรรไปใฌโดยประหยัดและมีเงินเหลือคืนคลังในงบที่ประหยัดที่สุด ในส่วนนั้นจะได้โบนัสสูงสุดของสำนักกองนั้น
การลงโทษนบว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน มิเช่นนั้นแล้วจะทำให้เกิดการเลียนแบบและเอาอย่างไม่มีความเกรงกลัว เนื่องจาก การที่ มีการลงโทษทางวินัยไม่ปรากฏ มีแต่การสอบสวนเท่านั้น
การปรับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนและองค์กรเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน การมีความสัมพันธ์ในแนวขวางเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจาก ยกตัวอย่างการสร้างค่านิยมในกองแผนงาน ที่ต้องการให้ทุกกลุ่มงานและฝ่ายมีความสมานฉันและสามัคคี ต้องอาศัย ต้องอาศัยความสัมพันธ์ในแนวราบ ซึ่งต่างกับความสัมพันธ์ในแนวดิ่งอันหมายถึงการให้เกียรติปรึกษาหารือในเรื่องงาน จะนำมาซึ่งความเข้าใจกัน หากอาศัยแต่การสั่งการเพียงอย่างเดียว อาจไม่ได้รับความร่วมมือหรือการทุ่มเทจาทีมงานหรือผั้บบริการในพื้นที่อย่างเต็มร้อย
ยกตัวอย่างเรื่องที่ ดร ชาติชาย กล่าวถึง การกระจายอำนาจ การที่จะมีการแบ่งปันอำนาจอย่างแท้จริงนั้นต้องอาศัย บริหารจัดการที่อยู่บนผลประโยชน์ของประชาชนหรือผู้รับบริการหรือบุคคลากรในพื้นที่เป็นหลัก
หากการจัดทำแผนหรืองบประมาณอาศัยเพียงความสะดวกสบายหรือประโยชน์ของผู้ให้เป็นหลัก ผู้รับบริการผู้ได้รับประโยชน์ ไม่ได้รับประโยชน์ที่ควรได้เต็มตามมูลค่าราคาของเคื่องอุปโภคบริโภคที่ ได้เขียนตั้งงบประมาณไว้ในโครงการ โดยมีการเบียดบัง หรือสมรู้กับผู้ประกอบการ นำความเสียหายมาโดยที่แม้ยังไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันความผิด ในขณะนั้น แต่ระบบการตรวจสอบดูแลและการกำกับลงโทษที่ทันที ย่อมมาซึ่งความเกรางกลัว ไม่กล้ากระทำความผิดซ้ำโดยผู้นำ เช่น ผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่มงาน และ หัวหน้างานต้องเป็นตัวอย่าง ในการที่ไม่แสดงให้เห็นว่า ทำไมจึงต้องแสดงความจำเป็นในการที่ต้องมีส่วนที่ต้องเบียดบังไว้
ในเรื่องของเงินประจำตำแหน่งในการปรับโครงสร้างใหม่นั้น ถือว่าเป็นการสร้างค่านิยมให้ผู้นำในองค์กรได้ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกน้องในหน่วยงานด้วย เนื่องจาก ภาครัฐย่อมคาดหวังว่า การที่ บุคคลากรที่ มีศักยภาพในการทำงานตำแหน่งสูงและมีความรับผิดชอบมากนั้น ย่อมมีความรับผิดชอบในเรื่องของศีลธรรม มากกว่าบุคคลากรระดับต่ำกว่า ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่อันเกิดเนื่องจากการงานต่างๆ ไม่ควร นำเงินที่เบียดบังจากงบประมาณมากล่าวอ้าง ว่าเพื่อความสะดวกสบายโดยส่วนตนหรืองานของกลุ่ม
หากผู้นำองค์กรแสดงความเป็นผู้นำในเรื่องค่านิยม ย่อมทำให้ลูกน้องและผู้รับบริการเชื่อถือ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความสมดุลในชีวิต เรียกความเชื่อมั่น และความศรัทธา ทำให้งานต่างๆ ประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวัง เรื่องเกี่ยวกับการอภิวัฒน์การพัฒนานั้นหากนำมาประยุกต์ใช้ในกองแผนงาน โดยที่ทุกท่านอาจนับถือศาสนาต่างกัน ในการที่จะพูดเรื่องเกี่ยวกับบุญบาปมาใช้นั้น อาจไม่ทำให้รู้สำนึกหรือรู้สึกผิด หาก ไม่มีการให้รางวัลจูงใจที่มีคุณค่า มีราคาสูงพอ และ การลงโทษก็เพียงแค่ตักเตือนหรือทัณฑ์บนกับผู้ที่กระทำทำการเบียดบังเป็นกระบวนการในงบประมาณโครงการต่างๆ เป็นนิจศีล ทำให้เกิดค่านิยมที่ผิดๆ ว่าการที่เบียดบังมาเพื่อประโยชน์ขององค์กรหรือกลุ่มงานเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เป้าหมายการนำฐานความคิดที่ดีมาใช้กับกองแผนงาน คือ ความเชื่อ คุณค่า และ ความมุ่งหวัง ผลคือความสำเร็จของกองแผนงาน สามารถ ตรวจกำกับงบประมาณ ทั้งที่มาจาก ภาครัฐของกรมกระทรวงโดยตรง และ งบประมาณจาก กระทรวงหรือองค์กรอื่นๆ ได้นำมาใช้ ให้เกิด ประโยชน์แก่ ผู้รับบริการ อันได้แก่ บุคคลากร หรือบุคคลหรือหน่วยงานเป้าหมายในแต่ละโครงการนั้นๆ หาก การบริหารจัดการโครงการ อาศัยเพียงเอา ผลอันเกิดจาก งบประมาณที่อาจมีส่วนต่างที่ไม่ปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐาน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ ตนหรือพวกพ้อง จะทำให้ การบริหารจัดการงบประมาณนั้น ไม่อาจทำได้อย่างโปร่งใส หรือมีความเป็นธรรม
ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่า การเดินทางไปต่างประเทศย่อมมีเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ การที่ มีการซื้อประกันภัยในการเดินทาง เป็นการบริหารความเสี่ยงประการหนึ่ง ซึ่งควรเป็นงบประมาณที่สามารถ เบิกจ่ายได้ รวมไปถึงเรื่อง การเมืองระหว่างประเทศ หรืออุบัติเหตุต่างๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในเรื่อง พาหนะ อาหาร การรักษาพยาบาล ในต่างประเทศ รวมทั้งค่าทำหนังสือเดินทาง ค่าธรรมเนียมการผ่านแดน ต่างๆ เหล่านี้ ต้อง ได้รับการเบิกจ่ายเผื่อฉุกเฉินผ่านการชำระเบี้ยประกันภัยกลุ่มซึ่งทางกองแผนงาน ควรประสานกับทางกองคลัง ให้ลดภาระ ต่อ เจ้าหน้าที่ เพื่อมิให้มีการกล่าวอ้างเหตุจำเป็นเหล่านี้ อันเป็นการ ใช้งบประมาณไปโดยไม่ถูกต้องตามที่ชี้แจงในรายละเอียด เมื่อไม่สามารถกล่าวอ้างเหตุจำเป็นเหล่านี้ ทำให้เกิด การเบียดบัง โดยไม่ปรากฏหลักฐาน โดยอ้างว่าทำไปเพื่อ เผื่อหรือชดเชย ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หรือการมีงบสำรองที่เตรียมเบิกจ่าย โดยอาศัยใบเสร็จรับเงินของผู้ประกอบการที่มีระบบเหมาจ่าย เช่น บริษัทตัวแทน รับเหมารถตู้ หรือตัวแทนการจัดการเดินทาง เหล่านี้ จะทำให้เกิดความสะดวกในการ ลดปัญหาเรื่องของการเบียดบังงบประมาณในเรื่องของความจำเป็ฯฉุกเฉินเหล่านี้ได้ โดยกองแผนงานควรต้องประสานกับกองคลังรวมทั้งหน่วยงานต้นสังกัดอนุมัติค่าใช้จ่ายงบประมาณต่างๆ ด้วย เพื่อให้เห็นความจำเป็น อนุมัติให้เบิกจ่ายได้
เนื่องจากการเหมาจ้างงานตามระบบสากล ควรให้ ส่วนของเอกำชนที่สามารถต่อรองราคากลางที่กองคลังในระบบการประมูลออนไลน์ ให้ได้ผู้ประกอบการ ที่เป็นส่วนกลาง เช่น บริบัททัวส์ บริษัทจัดการการประชุมสัมมนา บริบัท เหล่านี้ อาจรับเหมาในเรื่ง พาหนะ ที่พัก และ อาจรวมไปถึงวิทยากร ด้วย ซึ่งนับว่าเป็นการสะดวกสามารถต่อรองราคาได้โดยง่าย
ดังนั้น หาก การทำงาน ที่หวังประโยชน์ของผู้รับบริการเป็นหลัก ย่อมทำให้สามารถ ดำรงการทำงานอยู่ได้โดยสุจริต ไม่แปดเปื้อน และ สะดวก และ เจ้าหน้าที่ของกองแผนงาน สามารถบริหารโครงการโดยลดภาระ ในเรื่องการติดตามโครงการได้มาก เนื่องจากภาระต่างๆ ได้ตัดไปเป็นค่าฝใช้จ่าย ที่ เอกชนรับเหมาไปแล้ว
ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ย่อมปรากฏโดยชัดเจน ไม่จำเป็นต้องประเมินโครงการโดยไม่เปิดเผยความจริง เพราะหากผู้บริหารโครงการ ทำโครงการโดยผ่านตัวแทนของเอกชน ที่เป็นที่ไว้วางใจของกองคลังและ ผู้อนุมัติโครงการแล้ว ย่อมเป็นการสะดวก ในการ ที่ฝ่ายติดตาม ตรวจสอบ และ ผู้ตรวจราชการของกรม สามารถตรวจติดตามได้โดยง่าย จุดยืนที่ชัดเจน คือ สะดวกต่อการถอนตัวออกมาจาก กิจกรรม ที่เสี่ยงต่อ การกล่าวหา ร้องเรียน ในเรื่องของการยักยอก ในโครงการต่างๆ เช่น การปลอมเอกสาร ใบเสร็จรับเงิน การ จ่ายค่าจัดซื้อจัดจ้างไม่ตรงกับจำนวนเงินตามใบเสร็จรับเงินที่กล่าวอ้าง ไม่ว่า จะเป็นเรื่อง ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าที่พัก ค่าอาหารจัดเลี้ยง ค่าเบี้ยเลี้ยง รวมไปถึงค่าใช้จ่ายอันจำเป็นด้วยเหตุต่างๆ
การมีเอกลักษณ์การจัดการให้เท่าทันสากล ดังที่ได้รับการอบรมมานั้น ไม่ใช่เพียง การบันทึกเป็นตำราหรือคู่มือให้ปฎิบัติ งานกันดังที่ ดร ชาติชายกล่าวถึง เพราะเป็นการยึดติดอยู่กับเพียงคู่มือที่ให้เป็นที่เข้าใจว่าเป็นการถอดบทเรียน และ มีการปฎิบัติที่ ดีแล้ว เนื่องจาก กองแผนงาน มีตำราลงไปในพื้นที่มาก และ วิทยากร ประสงค์ ให้ผู้รับบริการของกองแผนงานได้รับประโยขชน์จากเอกสาร งานวิจัย หนังสือและงานวิชาการต่างๆ เพื่อไปใช้ในการเป็นวิทยากรกระบวนการทีประสบผลอย่างแท้จริง เนื่องจาก การมีเครือข่ายของพัฒนากร ช่วยให้พัฒนากรอาวุโสในพื้นที่ทำงานได้สะดวกและง่ายขึ้น ดังนั้น กองแผนงาน ต้องสร้างค่านิยม ของกอง ให้สามารถ ผลิตสื่อ สารสนเทศ ตำรา และ งานต่างๆ ที่ สามารถ นำไปปรับใช้ กับพัฒนากรผู้รับบริการในพื้นที่ได้ สะดวกขึ้น
สรุป วิธีการหรือกลวิธีในการขับเคลื่อน ค่านิยมองค์กร ต้นแบบ
1. ค่านิยมสร้างสรร ไม่ว่าจะ โดยของกพร เอง หรือ กพ. เน้น ในการให้ความสะดวกแก่ผู้รับบริการ และต้องอาศัยความต้องการของผู้รับบริการเป็นตัวตั้ง เช่น ความรับผิดชอบ ในกิจการงานที่ทำ การยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง มีความโปร่งใส ไม่เลือกปฎิบัติเป็นต้น อย่างไรก็ตาม ศักยภาพในการจัดการของทาง กพ และ กพร สามารถ สร้างพลังหรืออำนาจบังคับให้ข้าราชการทุกท่าน ทำตาม มาตรฐานที่ผู้รับบริการประสงค์ได้ เนื่องจาก การหวังผลงานนั้น แตกต่างจากการทำงานของเอกชน เนื่องจาก เอกชนมุ่งแสวงกำไร แต่ การทำงานของภาครัฐเป็นการเสียสละที่ โดยหลักการต้องทำพื่อประโยชน์ของส่วนรวม และ ระบบการจูงใจ Incentive และการลงโทษยังไม่อาจเป็นไปตามมารตฐานงานบริหารบุคคลอย่างแท้จริงเทียบกับงานของเอกชน ที่อาศัยความรวดเร็ว คุณธรรมอาจมีไม่มากเท่างานในระบบราชการ
2. ค่านิยม ในเรื่องI AM READY นับว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่นำมาประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจพอเพียงได้ เนื่องจากมีเรื่องของการบริหารความเสี่ยง ความพอประมาณ การมีเหตุผล การสรางภูมิคุ้มกัน โดยอาศัย เงื่อนไขในเรื่องความรู้ และคุณธรรม รู้รอบและ มีความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน แบ่งปัน นำมาสู่การเพิ่มค่า ในค่านิยมขององค์กร และกองแผนงาน ด้วยความสำเร็จ ของเจ้าหน้าที่ทุกท่าน มีจุดยืนของการทำงาน ในแนวทางเดียวกัน พึ่งพาซึ่งกันและกัน
3. การสร้างการควบคุมตนเองให้เกิดมีค่านิยมที่แท้จริงต้องระเบิดมาจากข้างในตามหลัก การสร้างเมล็ดพันธ์ ให้มีการรู้ รัก สามัคคี ตามพระราชดำรัส
4. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในงานของกองแผนงาน มีนักวิจัย นักวิชาการเป็นสื่อกลาง ประดุจ กระจกที่ส่องซึ่งกันและกัน
5. การทำงานภายใต้แรงบัลดาลใจทีสามารถขับเคลื่อนงานให้ได้ผล เน้น การกระจายอำนาจในแนวราบ การที่ได้ดูแลปกครองตนเองนั้น เหมาะสมกับองค์กร ที่มีความพร้อมในการบริหารจัดการเงินและบุคคลากรที่โปร่งใสแล้ว ถ้า องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีความพร้อมเท่ากับองค์กรของพัฒนากร อันทีจริง การ ออกไปปกคีรองบริหารจัดการ ด้วยงบประมาณของตนนับว่าเป็นการสะดวกเหมือน กับ ไม่ต้องมากังวลกับการเบิกจ่ายจากต้นสังกัด หรือ การมีการบริหารจัดการในแนวดิ่ง เพราะมีการปกครอง ที่เป็นเรื่องของการสั่งการ ซึ่งการปกครองในแนวราบ นับเป็นจุดเด่นของกรมพัฒนาชุมชน ดังที่ท่านวิทยากรกล่าวถึงท ดังนั้น เพื่อให้สะดวก อนาคตของกองแผนงาน อาจเป็นกองนำร่องในการบริหารจัดการแบบใหม่ก็เป็นได้
6. การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ต้องอาศัยการทบทวน วิสัยทัศน์ ค่านิยม ยุทธศาสตร์ขององค์กร นำมา ปรับระบบในองค์กร System Reform โดยตั้งเป้าหมายที่ตคาดหวังไว้ด้วย การคาดให้ให้มีการปรับเปลี่ยนองค์กร โดยสร้างกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไปตามค่านิยมเป้าหมายขององค์กร เช่น การ ทำกิจกรรมต่างๆ ตามคำรับรองปฎิบัติราชการ เป็นต้น
7. เทคนิควิธีการปลูกฝังค่านิยม มีวีหลากหลาย เช่น วิธีที่จะนำมาใช้ กับกองแผนงาน อาจเป็นการ สร้างกิจกรรมต่างๆ เช่น การเปิดเวทีแลกเปลี่ยน เกี่ยวกับ ค่านิยม ของการเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี
การแข่งขันจัดสรรงบประมาณใช้โดยประหยัด หรือ การ แข่งขันผู้ประกอบการที่ดีเด่น ที่ได้รับการคัดสรร ในการเสนอการเหมาประมูล โรงแรม ที่พัก อาหาร ยานพาหนะ ดีเด่น ประหยัดงบประมาณของทางราชการที่ สุด เป็นต้น การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานที่มีความสุข มีการเอื้อเฟื้อ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน มีการให้รางวัล การสะท้อนค่านิยม ที่ถูกต้องได้
8. ต้องมีองค์การต้นแบบเพื่อนำการขับเคลื่อน
9.การขับเคลื่อนค่านิยมต้องทำแบบคลื่น เป็นระยะ โดยเริ่มจากการปลุกเร้า ให้รู้สึกมีส่วนร่วมกันในความคิด มีการแลกเปลี่ยนและผลักดัน มีการสนับสนุน มอบอำนาจ มอบความไว้วางใจ เมื่อมีหน่วยงานต้นแบบนำร่องแล้ว ย่อมขยายผลไปยังหน่วยงานอื่น ทำให้เกิดการขับเคลื่อนในการสร้างค่านิยมของปผัต่อไป
9. ต้องเข้าใจในการส่งค่านิยมเหล่านี้ไปยังผู้รับบริการ คือพัฒนากรผู้ขับเคลื่อนงานของมวลชน เป็นศุนยืกลางของชุมชน
เสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และกำหนดแนวทาง ในการขับเคลื่อนค่ายนิยม องค์การของกองแผนงานและหน่วยงานต่างๆ ในปีงบประมาณ 2552 ยังมีอื่นๆ อีก ช่วยระดมสมองหน่อยก็ดี
http://www.cdd.go.th/activity/511203.html
http://cddweb.cdd.go.th/prcdd/news11.htm
นายชุมพร พลรักษ์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบโล่ประกาศเกียรติคุณหน่วยงานต้นแบบด้านการขับเคลื่อนค่านิยมองค์การ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย กองคลัง สพจ.ภูเก็ต,สพจ.จันทบุรี แและสพจ.ลพบุรี โดยมีนายอาจณรงค์ สัตยพานิช หัวหน้ากลุ่มพัฒนา ระบบบริหาร กล่าวรายงาน เมื่อวันพุธที่ 3 ธันวาคม 2551 ณ ห้องประชุมใหญ่ กรมการพัฒนาชุมชน
“นางกอบแก้ว จันทร์ดี รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำเสนอรูปแบบการขับเคลื่อนค่านิยมองค์การของ4 หน่วยงานต้นแบบ
โดยมีนายอาจณรงค์ สัตยพานิช หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบริหาร กล่าวรายงาน การอบรมครั้งนี้ได้เชิญ ศ.ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ผอ.สถาบันส่งเสริมกิจการบริหารบ้านเมืองที่ดี
มาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ความสำคัญและทิศทางการเสริ มสร้างค่านิยมองค์การในหน่วยงานภาครัฐ” เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2551 ณ โรงแรม ที เค พาเลซ ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ”
Thursday, 4 December 2008
Thursday, 27 November 2008
Subscribe to:
Posts (Atom)