ข่าวสาร : ขอเชิญเยาวชนสมัครแข่งขันการประกวดภาพวาด เนื่องในโอกาสการจัดงานวันอาเซียนประจำปี 2556
ประกาศกรมอาเซียน
ที่ 5/2556
เรื่อง ขอเชิญเยาวชนสมัครแข่งขันการประกวดภาพวาด
เนื่องในโอกาสการจัดงานวันอาเซียนประจำปี 2556
ในการนี้ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ขอเชิญเยาวชนไทยที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมประกวดภาพวาด ภายใต้หัวข้อ “Our People, Our Future Together” หรือ “ประชาชนอาเซียน เพื่ออนาคตร่วมกัน” เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและมีความเป็นหนึ่งเดียวในการสร้างอนาคตของอาเซียนร่วมกัน โดยมีรายละเอียดการแข่งขันประกวดภาพวาด ดังนี้
1) การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6) และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3)
2) ภาพวาดจะต้องเป็นภาพสี ขนาด 14 x 21 นิ้ว โดยใช้สีน้ำ สีน้ำมัน สีไม้ สีเทียน หรือสีชอล์
3) การแข่งขันแต่ละระดับจะมีรางวัลสำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือก ดังนี้
3.1 รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 10,000 บาท จำนวน 1 รางวัล
3.2 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับหนึ่ง เงินรางวัล 7,000 บาท จำนวน 1 รางวัล
3.3 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับสอง เงินรางวัล 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล
3.4 รางวัลชมเชย เงินรางวัล 2,000 บาท จำนวน 10 รางวัล
ทั้งนี้ เงินรางวัลดังกล่าวได้รับการอุปถัมภ์โดยกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับบริษัททรูปลูกปัญญา (Trueplookpanya Media)4) ภาพวาดที่จะเข้าร่วมการประกวดจะต้องส่งให้กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่อยู่ 443 ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร 10400 ภายในวันที่ 2 สิงหาคม 2556 เวลา 12.00 น.
5) ผู้เข้าร่วมประกวดจะต้องสำเนาบัตรประจำตัวนักเรียน พร้อมเขียนข้อความรับรองบนสำเนาบัตรประจำตัวนักเรียนว่าเป็นผู้วาดภาพดังกล่าว
6) ผลการประกวดจะประกาศที่ www.mfa.go.th/aseanและจัดแสดงในงานวันอาเซียน วันที่ 8 สิงหาคม 2556 ณ กระทรวงการต่างประเทศ และออกเผยแพร่ทางช่องทรูวิชั่นส์ 9 ของทรูปลูกปัญญา โดยจะส่งเงินรางวัลให้ผู้ชนะเลิศทางไปรษณีย์หรือมารับที่ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 0 2203 5000 ต่อ 14317
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2556
ภาพประกอบข่าว
-
ภาพตัวอย่างที่ได้รับรางวัลปีที่ผ่านๆ มา
-
ภาพตัวอย่างที่ได้รับรางวัลปีที่ผ่านๆ มา
-
ภาพตัวอย่างที่ได้รับรางวัลปีที่ผ่านๆ มา
-
ภาพตัวอย่างที่ได้รับรางวัลปีที่ผ่านๆ มา
-
ภาพตัวอย่างที่ได้รับรางวัลปีที่ผ่านๆ มา
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1366879433
อาเซียน ซัมมิต 2013" "เศรษฐกิจ" มาก่อน "การเมือง"
updated: 25 เม.ย 2556 เวลา 15:43:04 น.
"การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน" หรือ "อาเซียน ซัมมิต" ครั้งที่ 22 เริ่มขึ้นแล้วช่วงวันที่ 24-25 เมษายน 2555 ครั้งนี้ ปีนี้เป็นปีแรกที่บรูไนเป็นประธานอาเซียน และเป็นครั้งแรกที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซียน ซัมมิต โดยการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งนี้อยู่ภายใต้ชื่อการประชุม "Our People, Our Future Together"
หมายกำหนดการของอาเซียน ซัมมิตระบุว่า การประชุมในครั้งนี้จะเน้นความร่วมมือในประเด็นเศรษฐกิจ โดยบรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์จะประชุมพิเศษในวันที่ 2 ของการประชุม
ชัดเจนว่าบรรดา 10 สมาชิกของอาเซียนต่างมีจุดหมายเดียวกัน คือผลักดันการ บูรณาการด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกันก่อนถึงสิ้นปี 2555 เพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เป้าหมายของการรวมเออีซี คือการกำจัดอุปสรรคของการรวมกันเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม ให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีมากขึ้น
พร้อม ๆ ไปกับการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอาเซียน การลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่ากับใหม่ และการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน กล่าวในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 21 ว่า ความร่วมมือหลัก ระหว่างชาติสมาชิกของอาเซียนราว 75% ได้เดินหน้าเรียบร้อยแล้ว ส่วนอีก 25% จะดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนสิ้นปี 2558 มาถึงนางซานจิตา บาสุ ดาส หัวหน้านักวิจัยด้านเศรษฐกิจ จากศูนย์เรียนรู้อาเซียน สถาบันศึกษาด้านเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ กล่าวว่า "อาเซียนจะไม่มีมาตรฐานเอฟทีเอที่ดีเยี่ยม แต่ก็จะมีเอฟทีเอแบบอาเซียน ซึ่งจะเป็นแบบยืดหยุ่น และขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละประเทศสมาชิก"
"สำหรับเป้าหมายระยะเวลาที่กำหนด ฉันคิดว่าบรรดาผู้นำของประเทศสมาชิกจะทำงานตามกรอบงานอาเซียนได้สำเร็จ แต่การนำกรอบนั้นไปใช้ในแต่ละประเทศก็จะแตกต่างกันไป หากมองในแง่นี้ ฉันว่าอาเซียนก็จะบรรลุเป้าหมาย"
อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการบูรณาการแผนงานที่ผ่านมาของอาเซียนก็เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
นายจ้าว หง นักวิจัยอาวุโส จากสถาบันเอเชี่ยนตะวันออก มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ให้ความเห็นว่า "แผนงานอาเซียนไม่บังคับชาติสมาชิก ยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่แทรกแซงระหว่างกัน อาเซียนมีการรวมตัวในแบบที่ต่างออกไป ซึ่งยังเป็นหนทางอีกยาวไกล กว่าจะรวมตัวกันในทางเศรษฐกิจอย่างแน่นแฟ้น"
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจยังเป็นหัวใจความร่วมมือระหว่างอาเซียน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านอาเซียนต่างแสดงทรรศนะเห็นพ้อง
นางซานจิตากล่าวว่า หวังว่าอาเซียนจะค่อย ๆ พัฒนาความร่วมมือจากเสาเศรษฐกิจไปยังเสาสังคมและวัฒนธรรมมากขึ้น และในที่สุดก็จะสามารถร่วมมือไปถึงเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างชาติสมาชิกตามเป้าหมายที่อาเซียนตั้งไว้
ทั้งนี้แม้ว่าปัญหา"ข้อพิพาททะเลจีนใต้" จะเป็นเรื่องที่บรรดาชาติสมาชิกต่างให้ความสำคัญ แต่นักวิชาการเชื่อว่าเรื่องที่ผู้นำอาเซียนให้น้ำหนักเป็นพิเศษจะยังคงเป็นความร่วมมือในทางเศรษฐกิจ
นายจ้าว จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ให้ความเห็นว่า "ผมคิดว่าอาเซียนก็น่าจะได้รับผลกระทบจากประเด็นทะเลจีนใต้ แต่ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าคู่กรณีจะแยกการเมืองออกจากเศรษฐกิจได้หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในความร่วมมือระดับกว้าง ท่าทีจีนกับเวียดนามที่ผ่านมายังถือว่าเป็นไปด้วยดี"
"เป็นที่รู้กันชัดเจนว่าสมาชิกอาเซียนให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจมากที่สุดเรื่องความมั่นคงต้องมีการหารือแน่ แต่ผมคิดว่ายังไงก็คงไม่เป็นประเด็นหลักที่จะมีน้ำหนักเหนือเศรษฐกิจ"
ในทางเศรษฐกิจ จีนเป็นผู้นำการเจรจาเซ็นสัญญาการค้าเสรีจีน-อาเซียน โดยยกเลิกภาษีระหว่างกันในทุกรายการ รวมไปถึงสินค้าเกษตรด้วย อิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนจึงมีผลต่ออาเซียนสูงมาก
นายจ้าวกล่าวว่า "เศรษฐกิจจีนมีความหลากหลาย ทั้งอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง และอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงแรงงานสูง การพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีนสามารถเต็มเติมเศรษฐกิจอาเซียนได้ ข้อเท็จจริงคือหากพิจารณาให้ดี เราสามารถเห็นโอกาสความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับอาเซียนในทุกระดับชั้น"
เว็บไซต์ข่าวซีอาร์ไอภาษาไทยระบุว่า นายสวี่ หนิงหนิง รองเลขาธิการประจำฝ่ายจีนของคณะมนตรีธุรกิจจีน-อาเซียน กล่าวถึงยอดมูลค่าการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนปี 2012 ที่สร้างสถิติทะลุ 400,000 ล้านดอลลาร์ จีนกลายเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของอาเซียน ส่วนอาเซียนแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของจีน
จากข้อมูลของเอเอฟพีระบุว่า พม่า สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และบรูไน มีแนวโน้มว่าจีดีพีจะโตขึ้นในปี 2556 ขณะที่ กัมพูชาทรงตัว ส่วนไทย มาเลเซีย ลาวฟิลิปปินส์ จะเติบโตลดลง อย่างไรก็ตาม อาเซียนยังเป็นภูมิภาคที่เติบโตทางเศรษฐกิจได้แข็งแรงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ในโลก
หมายกำหนดการของอาเซียน ซัมมิตระบุว่า การประชุมในครั้งนี้จะเน้นความร่วมมือในประเด็นเศรษฐกิจ โดยบรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์จะประชุมพิเศษในวันที่ 2 ของการประชุม
ชัดเจนว่าบรรดา 10 สมาชิกของอาเซียนต่างมีจุดหมายเดียวกัน คือผลักดันการ บูรณาการด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกันก่อนถึงสิ้นปี 2555 เพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เป้าหมายของการรวมเออีซี คือการกำจัดอุปสรรคของการรวมกันเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม ให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีมากขึ้น
พร้อม ๆ ไปกับการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอาเซียน การลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่ากับใหม่ และการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน กล่าวในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 21 ว่า ความร่วมมือหลัก ระหว่างชาติสมาชิกของอาเซียนราว 75% ได้เดินหน้าเรียบร้อยแล้ว ส่วนอีก 25% จะดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนสิ้นปี 2558 มาถึงนางซานจิตา บาสุ ดาส หัวหน้านักวิจัยด้านเศรษฐกิจ จากศูนย์เรียนรู้อาเซียน สถาบันศึกษาด้านเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ กล่าวว่า "อาเซียนจะไม่มีมาตรฐานเอฟทีเอที่ดีเยี่ยม แต่ก็จะมีเอฟทีเอแบบอาเซียน ซึ่งจะเป็นแบบยืดหยุ่น และขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละประเทศสมาชิก"
"สำหรับเป้าหมายระยะเวลาที่กำหนด ฉันคิดว่าบรรดาผู้นำของประเทศสมาชิกจะทำงานตามกรอบงานอาเซียนได้สำเร็จ แต่การนำกรอบนั้นไปใช้ในแต่ละประเทศก็จะแตกต่างกันไป หากมองในแง่นี้ ฉันว่าอาเซียนก็จะบรรลุเป้าหมาย"
อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการบูรณาการแผนงานที่ผ่านมาของอาเซียนก็เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
นายจ้าว หง นักวิจัยอาวุโส จากสถาบันเอเชี่ยนตะวันออก มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ให้ความเห็นว่า "แผนงานอาเซียนไม่บังคับชาติสมาชิก ยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่แทรกแซงระหว่างกัน อาเซียนมีการรวมตัวในแบบที่ต่างออกไป ซึ่งยังเป็นหนทางอีกยาวไกล กว่าจะรวมตัวกันในทางเศรษฐกิจอย่างแน่นแฟ้น"
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจยังเป็นหัวใจความร่วมมือระหว่างอาเซียน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านอาเซียนต่างแสดงทรรศนะเห็นพ้อง
นางซานจิตากล่าวว่า หวังว่าอาเซียนจะค่อย ๆ พัฒนาความร่วมมือจากเสาเศรษฐกิจไปยังเสาสังคมและวัฒนธรรมมากขึ้น และในที่สุดก็จะสามารถร่วมมือไปถึงเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างชาติสมาชิกตามเป้าหมายที่อาเซียนตั้งไว้
ทั้งนี้แม้ว่าปัญหา"ข้อพิพาททะเลจีนใต้" จะเป็นเรื่องที่บรรดาชาติสมาชิกต่างให้ความสำคัญ แต่นักวิชาการเชื่อว่าเรื่องที่ผู้นำอาเซียนให้น้ำหนักเป็นพิเศษจะยังคงเป็นความร่วมมือในทางเศรษฐกิจ
นายจ้าว จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ให้ความเห็นว่า "ผมคิดว่าอาเซียนก็น่าจะได้รับผลกระทบจากประเด็นทะเลจีนใต้ แต่ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าคู่กรณีจะแยกการเมืองออกจากเศรษฐกิจได้หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในความร่วมมือระดับกว้าง ท่าทีจีนกับเวียดนามที่ผ่านมายังถือว่าเป็นไปด้วยดี"
"เป็นที่รู้กันชัดเจนว่าสมาชิกอาเซียนให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจมากที่สุดเรื่องความมั่นคงต้องมีการหารือแน่ แต่ผมคิดว่ายังไงก็คงไม่เป็นประเด็นหลักที่จะมีน้ำหนักเหนือเศรษฐกิจ"
ในทางเศรษฐกิจ จีนเป็นผู้นำการเจรจาเซ็นสัญญาการค้าเสรีจีน-อาเซียน โดยยกเลิกภาษีระหว่างกันในทุกรายการ รวมไปถึงสินค้าเกษตรด้วย อิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนจึงมีผลต่ออาเซียนสูงมาก
นายจ้าวกล่าวว่า "เศรษฐกิจจีนมีความหลากหลาย ทั้งอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง และอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงแรงงานสูง การพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีนสามารถเต็มเติมเศรษฐกิจอาเซียนได้ ข้อเท็จจริงคือหากพิจารณาให้ดี เราสามารถเห็นโอกาสความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับอาเซียนในทุกระดับชั้น"
เว็บไซต์ข่าวซีอาร์ไอภาษาไทยระบุว่า นายสวี่ หนิงหนิง รองเลขาธิการประจำฝ่ายจีนของคณะมนตรีธุรกิจจีน-อาเซียน กล่าวถึงยอดมูลค่าการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนปี 2012 ที่สร้างสถิติทะลุ 400,000 ล้านดอลลาร์ จีนกลายเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของอาเซียน ส่วนอาเซียนแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของจีน
จากข้อมูลของเอเอฟพีระบุว่า พม่า สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และบรูไน มีแนวโน้มว่าจีดีพีจะโตขึ้นในปี 2556 ขณะที่ กัมพูชาทรงตัว ส่วนไทย มาเลเซีย ลาวฟิลิปปินส์ จะเติบโตลดลง อย่างไรก็ตาม อาเซียนยังเป็นภูมิภาคที่เติบโตทางเศรษฐกิจได้แข็งแรงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ในโลก
https://www.facebook.com/sseaypbrunei
vhttp://www.mfa.go.th/asean/th/news/2352/36370-
No comments:
Post a Comment