Tuesday, 27 October 2015

หลังอาหารเจ ต้องอยากกินเนื้อบ้างแล้วNice beef...uuumm..delicious!

หลังอาหารเจ ต้องอยากกินเนื้อบ้างแล้วNice beef...uuumm..delicious!

















What better way to celebrate Thai-U.S. friendship than with food, glorious food! American-owned restaurants and restaurants serving American cuisine in Bangkok have come together to bring you the best deals in dining on October 26-November 2, 2015. This year, we are celebrating the diversity of American cuisine that reflects the country's unique melting-pot culture. American cuisine is as diverse as its population; Chinese, Mexican, Japanese, Italian, and even Thai food can be considered “American”!
Pick your favorites from over 20 participating restaurants. See below for the great deals and spread the word #AmFoodWeek.
(Please mention "American Restaurant Week" when ordering)
จะมีวิธีฉลองมิตรภาพไทย-สหรัฐฯ อะไรที่ดีไปกว่าการฉลองด้วยอาหารจานเด็ด วันที่ 26 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายนนี้ ร้านอาหารสัญชาติอเมริกันและร้านอาหารที่มีเมนูอาหารอเมริกันในกรุงเทพ มารวมตัวกันเสนอโปรโมชั่นพิเศษที่คุณจะพลาดไม่ได้ ปีนี้เราจัดขึ้นภายได้หัวข้อ ความหลากหลายของอาหารอเมริกัน ที่สะท้อนถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนชาวอเมริกันในประเทศสหรัฐ อาทิเช่น จีน,เมกซิกัน,ญี่ปุ่นหรือแม้กระทั่งไทยที่นับเป็นส่วนหนึ่งของคำว่าอาหารอเมริกันด้วยเช่นกัน
เลือกร้านโปรด ที่มีให้เลือกมากกว่า20ร้านที่ร่วมเสนอโปรโมชั่น โดยแจ้งคำว่า “อเมริกัน เรสเตอรองต์ วีค American Restaurant Week” ตอนสั่งอาหาร เชิญเลือกร้านโปรด อาหารอร่อย ทางเว็บไซต์ข้างล่าง แล้วช่วยกระจายข่าวกันด้วยนะ #AmFoodWeek

Click on restaurant logos to view special deals


http://bangkok.usembassy.gov/arw2015.html

Monday, 26 October 2015

New law for high punishment for bad allocate public budget too..


น่าจะมีการจัดซื้อจัดจ้างออนไลน์ได้แล้ว ผู้ซื้อและผู้จ้าง ไม่มีโอกาสเจอตัวกัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจาก ไม่ต้องมีการรอคอยเพื่อผลประโยชน์จาโครงการในอนาคต ที่จะต้องมีการตอบแทนอย่างชัดเจน  เนื่องจากมีการหมุนเวียนบุคคลากรกันอย่างหนัก เนื่องจาก ไม่ต้องมารอโครงการ ที่มีผลประโยชน์จากมือที่มองไม่เห็น ไม่ว่า ค่าพาหนะ ค่าเบืียเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าโรงแรม มีการบริหารอย่างโปร่งใสชัดเจน ไม่จำเป็นต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ที่จะรอรับโครงการต่างๆ อยู่ตลอดกาล หรือมีการทำแผน เกี่ยวกับเสันทางการเงิน หรือบุคคลากรอย่างชัดเจน

Clarify about your skill labor and professional labor..that s the way to develop your country...yes or no? no corrupt?

New law for high punishment for bad allocate public budget too..
if you persuade the officers who are manage the public projects for manage all target of money..on bad allocate or take unfair cost from the right targets to support private benefit or organization  benefit..you and the suppliers or the customers or stakeholders must be take punishment on top of it.. no scare?if you still get best income..from corrupt ? yes or no?


http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000078795

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000078795








มีผลบังคับใช้แล้ว พ.ร.ป. ป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) เพิ่มโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ รับสินบน เริ่มต้นจำคุก 5 - 20 ปี หรือตลอดชีวิต ปรับ 1 - 4 แสน สูงสุดประหารชีวิต ชี้เหตุเพิ่มยาแรงเพราะไทยเข้าร่วมภาคีอนุสัญญา “ยูเอ็นแคค” ตั้งแต่ปี 2554 และกำลังถูกจับตามอง
     
       วันนี้ (12 ก.ค.) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 60 ก ลงวันที่ 9 ก.ค. 2558 ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 โดยมีสาระสำคัญในมาตรา 13 เพิ่มบทบัญญัติการลงโทษอีก 7 มาตราแก่เจ้าหน้าที่รัฐผู้กระทำความผิด คือมาตรา 123/2 มาตรา 123/3 มาตรา 123/4 มาตรา 123/5 มาตรา 123/6 มาตรา 123/7 และมาตรา 123/8 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
     
       โดยเฉพาะใน มาตรา 123/2 บัญญัติว่า ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 5 - 20 ปี หรือจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 1 - 4 แสนบาท หรือประหารชีวิต
     
       และในมาตรา 123/3 บัญญัติว่า ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ กระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่ง โดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งตนได้เรียก รับ หรือยอมจะรับไว้ก่อนที่ตนได้รับแต่งตั้งในตําแหน่งนั้น ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 5 - 20 ปี หรือจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 1 - 4 แสนบาท
     
       อ่านฉบับเต็ม : พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558
     
       สำหรับเนื้อหาที่สำคัญของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 มีดังนี้
     
       มาตรา 13 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 123/2 มาตรา 123/3 มาตรา 123/4 มาตรา 123/5 มาตรา 123/6 มาตรา 123/7 และมาตรา 123/8 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
     
       “มาตรา 123/2 ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ของ องค์การระหว่างประเทศ เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษ จําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต
     
       มาตรา 123/3 ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ของ องค์การระหว่างประเทศ กระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่ง โดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งตนได้เรียก รับ หรือยอมจะรับไว้ก่อนที่ตนได้รับแต่งตั้งในตําแหน่งนั้น ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงยี่สิบปี หรือจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท


http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000078795

http://acoc.mof.go.th/wp-content/uploads/2015/01/plan_ministryeditor58-60.pdf

http://acoc.mof.go.th/wp-content/uploads/2015/01/plan_ministryeditor58-60.pdf

Wednesday, 14 October 2015

Delete poverty for this world..how to?การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ครั้งที่ 9

การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ครั้งที่ 9,











การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ครั้งที่ 9 ,ตุลาคม 2558

How progress?
http://www.asean.org/news/asean-statement-communiques/item/joint-statement-of-the-seventh-asean-ministers-meeting-on-rural-development-and-poverty-eradication-7th-amrdpe
http://www.tnamcot.com/content/292601

Joint Statement of the Seventh ASEAN Ministers Meeting on Rural Development and Poverty Eradication (7th AMRDPE)

on Wednesday, 02 November 2011. Posted in 2011
Bandar Seri Begawan, 2 November 2011
1. The Seventh ASEAN Ministers Meeting on Rural Development and Poverty Eradication (7th AMRDPE) was held on 2 November 2011 in Bandar Seri Begawan, Brunei Darussalam, preceded by the Eight ASEAN Senior Officials Meeting on Rural Development and Poverty Eradication (8th SOMRDPE) on 31 October – 1 November 2011 and the Fourth ASEAN Plus Three Senior Officials Meeting on Rural Development and Poverty Eradication (4th SOMRDPE+3) on 1 November 2011. The 7th AMRDPE adopted the theme "A Coordinated Strategy of Intervention: Towards Zero Poverty".
2. The Opening Ceremony of the 7th AMRDPE was officiated by His Royal Highness Prince Haji Al-Muhtadee Billah, the Crown Prince and Senior Minister at the Prime Minister's Office of Brunei Darussalam. In the Opening Remarks, His Royal Highness urged the Ministers responsible for Rural Development and Poverty Eradication to intensify their efforts to ensure that the coordination and collaboration in eradicating poverty and narrowing the development gap within ASEAN would contribute in realizing the goal of an ASEAN Community that enjoys peace, stability and prosperity in the region.
3. The 7th AMRDPE was attended by the ASEAN Ministers responsible for rural development and poverty eradication or their representatives. The Deputy Secretary- General for ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) was also in attendance. The list of the Ministers or their representatives is enclosed.
Towards Zero Poverty in ASEAN
4. The Ministers noted with satisfaction the continued efforts made in addressing the priorities of the ASCC Blueprint and the ASEAN Framework Action Plan on Rural Development and Poverty Eradication (2004-2010). The Ministers were pleased to note the achievements of ASEAN Member States in undertaking integrated rural development approach and comprehensive community development efforts towards poverty eradication. The Ministers were also pleased that numerous regional projects had been successfully completed aimed at, among others, strengthening social protection especially in informal sector, promoting the participation of rural village leaders in community development, continuously improving statistics on poverty, and curbing the social impact of globalisation to the socially vulnerable groups. The Ministers reaffirmed their commitment to eradicate 

http://www.asean.org/news/asean-statement-communiques/item/joint-statement-of-the-seventh-asean-ministers-meeting-on-rural-development-and-poverty-eradication-7th-amrdpe

ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน ครั้งที่ 5


          กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  จัดประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน ครั้งที่ 5 (5th ASEAN Ministerial Meeting on Rural Development and Poverty Eradication: 5th AMRDPE) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนบวกสามด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน ครั้งที่ 1  และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีฯ  ระหว่างวันที่ 29 - 31 มกราคม 2550  ณ โรงแรมดุสิตธานี  กรุงเทพฯ  วัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน  ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญด้านการพัฒนาสังคม  การส่งเสริมความเสมอภาค  ตลอดจนช่วยยกระดับการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น  โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์  เป็นประธานเปิดการประชุม ในวันที่ 31 มกราคม 2550  เวลา 09.30 น.     
          นายไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เปิดเผยว่า  จากวิกฤตทางเศรษฐกิจเมื่อปี 2540  ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชากรยากจนในภูมิภาคอาเซียน  และผลการประชุมสุดยอด (ASEAN Summit)  ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2538  ที่ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมมือกันดำเนินการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชากรด้วยการประกันความยุติธรรมทางสังคม การปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการทางสังคม และการดำเนินงานเพื่อลดความยากจน  รวมทั้ง แผนปฏิบัติการของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  ที่เน้นการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาชนบท  ประเทศสมาชิกอาเซียน จึงได้จัดทำความร่วมมืออาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจนขึ้น  โดยแบ่งกลไกการดำเนินงานออกเป็น 2 ระดับ คือ การประชุมระดับรัฐมนตรี  เป็นการกำหนดกรอบแผนงานความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อขจัดความยากจนโดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อการส่งเสริมการพัฒนาชนบทเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้  และการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน (Senior Officials Meeting on Rural Development and Poverty Eradication: SOMRDPE)  เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกในการวางแผน ประสานงาน ติดตามผล และดำเนินการตามนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมระดับรัฐมนตรีฯ 
          นายไพบูลย์  กล่าวต่อไปว่า  การจัดประชุมทั้ง 2 ระดับ ประเทศสมาชิกจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ  ซึ่งในครั้งนี้ ประเทศไทย ได้รับความเห็นชอบจากประเทศสมาชิกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน ครั้งที่ 5  และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ขึ้น ระหว่างวันที่ 29 - 31 มกราคม 2550  ณ โรงแรมดุสิตธานี  กรุงเทพฯ  ภายใต้หัวข้อหลัก “การเสริมศักยภาพชุมชน เป็นหนทางที่จำเป็นในการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน” (Community Empowerment: A crucial Path To Rural development and poverty eradication)  มีกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เป็นหน่วยประสานงาน  โดยในวันที่ 29 มกราคม 2550 เป็นการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน ครั้งที่ 5 (Preparatory Senior Officials Meeting for the 5th ASEAN  Ministerial Meeting on Rural Development and Poverty Eradication: SOMRDPE)  วันที่ 30 มกราคม 2550  เป็นการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน+3 ด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน) ครั้งที่ 1 (Preliminary Meeting of the ASEAN Senior Officials on Rural Development and Poverty Eradication: PrelimASEAN+3 RDPE)  ผลการประชุมทั้งสองวันจะนำมาเข้าที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจนครั้งที่ 5 (5th ASEAN Ministerial Meeting on Rural Development and Poverty Eradication: 5th AMRDPE) ในวันที่ 31 มกราคมนี้ โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์  เป็นประธานเปิดการประชุม 
          นายไพบูลย์  กล่าวตอนท้ายว่า  การประชุมครั้งนี้  คาดว่าจะก่อให้เกิดการประสานความร่วมมือกันในด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน  ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญด้านการพัฒนาสังคม  การส่งเสริมความเสมอภาค  ตลอดจนช่วยยกระดับการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคอาเซียนให้ดีขึ้นกว่าเดิม  

CDD Photo Album