Wednesday, 24 September 2014

HBD CDD AND ME


บทสัมภาษณ์โดยสำนักเข้มแข็งฯและกองแผนงาน ปรับแก้ภาษาอังกฤษโดยกลุ่มงานวิเทศสัมพันธ์
ประชาสัมพันธ์ประสานโดยกองประชาสัมพันธ์
สุขสันต์วันเกิดกรมฯค่ะ


30 Sep 14 สำนักงานเลขานุการกรม ขอส่งสารอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ประจำปี 2557 เนื่องในวันคล้ายวันก่อตั้งกรมฯ วันพุธที่ 1 ต.ค. 2557 (รายละเอียดตามเอกสารแนบ)
            
  Attachment ::  (กดปุ่มขวาของ mouse ที่ชื่อ file, หากต้องการพิมพ์หรือ save file)
Posted By :  นางสาวสุธิดา ตรีรัตนานุสรณ์  [สำนักงานเลขานุการกรม กรมการพัฒนาชุมชน] - 24 Sep 14 13:52

23 Sep 14 โอนจัดสรรค่าพาหนะเข้าร่วมโครงการชุมชนเข้มแข็งด้วหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท "มหกรรมการแสดงผลงาน เพื่อคืนความสุขให้ชุมชน" (กองคลัง)
            
  Attachment ::  (กดปุ่มขวาของ mouse ที่ชื่อ file, หากต้องการพิมพ์หรือ save file)
Posted By :  นางสาวนาตยา สังข์กรด  [กองคลัง กรมการพัฒนาชุมชน] - 23 Sep 14 19:25


23 Sep 14 ด่วน. ขอเชิญร่วมกิจกรรมเดิน-วิ่ง กับ กบข.
            
  Attachment ::  (กดปุ่มขวาของ mouse ที่ชื่อ file, หากต้องการพิมพ์หรือ save file)
Posted By :  นายเมธาพัฒน์ วงษ์ปา  [สำนักงานเลขานุการกรม กรมการพัฒนาชุมชน] - 23 Sep 14 11:37







วันนี้ (24 ก.ย.57) เวลา 09.00 น. ท่านอธิบดีฯ มอบหมายให้ นายอรรถพร สิงหวิชัย รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน บันทึกเทปสัมภาษณ์รายการ "Thailand 2020”(ภาคภาษาอังกฤษ)ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ในเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ ประเด็น โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบและโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการเพื่อประชาชนไทย โดย ผอ.ปชส.มอบหมายให้ทีมงานประสานการถ่ายทำ กำหนดการออกอากาศจะนำเรียนให้ทราบต่อไป/...สถานีข่าวพัฒนาชุมชน (CNS) รายงาน

คอยติดตามในสื่อต่อไปนะคะ
24 Sep 14 ‘มท.๑’ มอบนโยบายกรมการพัฒนาชุมชน
            
  Attachment ::  (กดปุ่มขวาของ mouse ที่ชื่อ file, หากต้องการพิมพ์หรือ save file)
Posted By :  นางสาวเปรมวดี มีสวัสดิ์  [กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน] - 24 Sep 14 10:46

24 Sep 14 พช.จัดงาน มหกรรมคืนความสุขให้ชุมชนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ
            
  Attachment :: 24กย57มติชน_เรียงคนมาเป็นข่าว.pdf (กดปุ่มขวาของ mouse ที่ชื่อ file, หากต้องการพิมพ์หรือ save file)
Posted By :  นางสาวเปรมวดี มีสวัสดิ์  [กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน] - 24 Sep 14 10:45

24 Sep 14 ภาพข่าว : สังคมเปิดฟ้าวันใหม่
            
  Attachment ::  (กดปุ่มขวาของ mouse ที่ชื่อ file, หากต้องการพิมพ์หรือ save file)
Posted By :  นางสาวเปรมวดี มีสวัสดิ์  [กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน] - 24 Sep 14 10:44

24 Sep 14 OTOP ภูมิภาค ชอปกันให้สนั่น ชิมกันให้อิ่ม ชิลชิลกันแบบสบาย ๆ
            
  Attachment ::  (กดปุ่มขวาของ mouse ที่ชื่อ file, หากต้องการพิมพ์หรือ save file)
Posted By :  นางสาวเปรมวดี มีสวัสดิ์  [กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน] - 24 Sep 14 10:44

24 Sep 14 OTOP โอทอปอันดามัน มหัศจรรย์ คืนความสุขฯ
            
  Attachment ::  (กดปุ่มขวาของ mouse ที่ชื่อ file, หากต้องการพิมพ์หรือ save file)
Posted By :  นางสาวเปรมวดี มีสวัสดิ์  [กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน] - 24 Sep 14 10:43

24 Sep 14 ห่มไหมเก๋ไก๋ไม่แก่
            
  Attachment ::  (กดปุ่มขวาของ mouse ที่ชื่อ file, หากต้องการพิมพ์หรือ save file)
Posted By :  นางสาวเปรมวดี มีสวัสดิ์  [กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน] - 24 Sep 14 10:43

24 Sep 14 ไลฟ์ สไตล์ : ท่องเที่ยวหมู่บ้าน OTOP เชียงราย-แม่ฮ่องสอน-เชียงใหม่ (ตอนที่ ๑)
            
  Attachment ::  (กดปุ่มขวาของ mouse ที่ชื่อ file, หากต้องการพิมพ์หรือ save file)
Posted By :  นางสาวเปรมวดี มีสวัสดิ์  [กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน] - 24 Sep 14 10:42

24 Sep 14 พาเที่ยวเมืองไทย : หยุดเวลาที่บางแม่หม้ายสัมผัสเสน่ห์ ความเรียบง่าย ‘สุพรรณบุรี’
            
  Attachment ::  (กดปุ่มขวาของ mouse ที่ชื่อ file, หากต้องการพิมพ์หรือ save file)
Posted By :  นางสาวเปรมวดี มีสวัสดิ์  [กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน] - 24 Sep 14 10:42

24 Sep 14 “ผ้าภูอัคนี” สีสันจากผืนดิน (ภูเขาไฟ) งดงามอย่างมีเอกลักษณ์
            
  Attachment ::  (กดปุ่มขวาของ mouse ที่ชื่อ file, หากต้องการพิมพ์หรือ save file)
Posted By :  นางสาวเปรมวดี มีสวัสดิ์  [กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน] - 24 Sep 14 10:41

24 Sep 14 กองสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๗
            
  Attachment ::  (กดปุ่มขวาของ mouse ที่ชื่อ file, หากต้องการพิมพ์หรือ save file)
Posted By :  นางสาวเปรมวดี มีสวัสดิ์  [กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน] - 24 Sep 14 10:40

 

บทสัมภาษณ์ Thailand 2020

คำถาม
คำตอบ
1. ที่มาและความสำคัญของปัญหาความยากจนแบบบูรณาการในประเทศไทย

ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ในประเทศไทย ยิ่งนับวันยิ่งเกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยมากขึ้น ตามข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังเผชิญกับปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคมไทย ซึ่งจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี พ.ศ.2554 พบว่า กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุดมีรายได้มากกว่ากลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุดถึง 12.3 เท่า ผลประโยชน์จากการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังตกอยู่กับคนรวยกลุ่มเล็ก ๆ  ยังไม่กระจายไปสู่คนกลุ่มใหญ่ของประเทศ กลายเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างเห็นได้ชัด และเมื่อเปรียบเทียบความรุนแรงของปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน พบว่า ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้รุนแรงมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน อาทิเช่น ประเทศมาเลเชีย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย เวียดนาม และลาว

2.ประวัติ/จุดเริ่มต้นของโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการเพื่อประชาชนไทยเป็นอย่างไร
ปีงบประมาณ 2551 กรมการพัฒนาชุมชนได้รับมอบหมายภารกิจจากคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช.) ให้ประสานการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการวัดคุณภาพชีวิตของคนไทย ในปี พ.ศ. 2533 และให้จัดเก็บเป็นประจำทุกปี โดยให้มีการปรับปรุงข้อมูลตัวชี้วัด จปฐ. ทุก 5 ปี เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับประชาชน/ชุมชนใช้วิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาความเป็นอยู่ของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2536 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบท นำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน กำหนดนโยบาย แนวทางการปฏิบัติ การติดตาม และประเมินผล
ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้การดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ โครงการลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ด้วยการขจัดความยากจนในชนบท เป็นงานสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ในการตอบสนองต่ออุดมการณ์ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ในโอกาสครบรอบการก่อตั้งกระทรวงมหาดไทย ๑๒๐ ปี และเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื่องในโอกาสครบรอบวันประสูติ ๑๕๐ ปี และครบ ๕๐ ปี ที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ถวายพระเกียรติให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกคนแรกของประเทศไทย และเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว กรมการพัฒนาชุมชนจึงจัดทำโครงการการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ : ชี้เป้าชีวิต จัดทำเข็มทิศชีวิต บริหารจัดการชีวิต และดูแลชีวิต โดยการบูรณาการความร่วมมือจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ที่ ๒๓,๐๐๐ บาท/คน/ปี ในปี พ.ศ.๒๕๕๔ จำนวน ๖๔,๙๗๓ ครัวเรือน ให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัวทั้งด้านการพัฒนาทักษะอาชีพตามศักยภาพ และการได้รับการสงเคราะห์ดูแลจากหน่วยงานและชุมชนสำหรับครัวเรือนยากจนบางส่วนที่ไม่มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง
1. ที่มาและจุดเริ่มต้นของโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
กรมการพัฒนาชุมชนมีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมความรู้และการมีสวนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยสนับสนุนให้มีการจัดทำและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย จัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน ตลอดจนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดหน้าที่ ประการหนึ่งในการพัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การอาชีพ การออมและการบริหารจัดการเงินทุนของชุมชนเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ   ของชุมชน ผู้นำชุมชน องค์การชุมชนและเครือข่ายองค์การชุมชน บริหารจัดการให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
         จากภารกิจข้างต้น กระทรวงมหาดไทยจึงไว้วางใจมอบหมายภารกิจให้กรมการพัฒนาชุมชน   เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากกระบวนการพัฒนาชุมชน มีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือปฏิบัติงานตามหลัก ความพอประมาณ ความมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ด้วยการใช้ความรู้ ความชอบธรรมและคุณธรรม ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองบนความพอเพียง โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกกรมและรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะ กรมการปกครอง และ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
การพัฒนา หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง คือ การจัดการพัฒนาหมู่บ้านหรือชุมชน ตลอดจนประชาชน ให้มีวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงและอยู่ดีมีสุข    ด้วยการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง
2. การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินงาน
           จากภารกิจของกรมฯ และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงมหาดไทย กรมฯ จึงได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาขยายผลในกระบวนการทำงาน 
          โดยในระยะแรก (ปี 2549 – 2551)  ส่งเสริมการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยเกณฑ์ประเมิน 6 ด้าน 12 ตัวชี้วัด ได้แก่ ลดรายจ่าย (ทำสวนครัว ปลอดอบายมุข)  เพิ่มรายได้ (มีอาชีพ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม)  ประหยัด (มีการออม มีกลุ่มออมทรัพย์ฯ)  การเรียนรู้ (สืบทอดภูมิปัญญา มีการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ใช้วัตถุดิบในชุมชนประกอบอาชีพ ปลูกต้นไม้)  เอื้ออารีต่อกัน (ช่วยเหลือคนจน  รู้รัก สามัคคี) ดำเนินการทั่วประเทศได้ จำนวน 58,537 หมู่บ้าน
ต่อมา ( ปี 2552 - ปัจจุบัน ) กรมการพัฒนาชุมชน ได้ขยายผลการทำงานสู่ความยั่งยืน โดยทำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นต้นแบบ มีศักยภาพ  4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด (เกณฑ์ประเมินของกระทรวงมหาดไทย) คือ 
 ด้านจิตใจและสังคม (สามัคคี มีข้อตกลงข้อมูลหมู่บ้าน มีกองทุน ยึดหลักประชาธิปไตย มีคุณธรรม/จริยธรรม ชุมชนปลอดอบายมุข)
 ด้านเศรษฐกิจ  (จดทำบัญชีครัวเรือน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ รวมกลุ่มพัฒนาอาชีพ การออม มีกลุ่มในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน)
 ด้านการเรียนรู้ (มีและใช้ข้อมูลชุมชน  ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างคุณค่า  มีศูนย์เรียนรู้ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับหมู่บ้าน  สร้างเครือข่ายการพัฒนา )
 ด้านทรัพยากรธรรมชาติแลสิ่งแวดล้อม (มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ฯ มีกลุ่ม / องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม   มีการใช้พลังงานทดแทนและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
เป้าหมายในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ คือ คนในหมู่บ้านมีความ “อยู่เย็น เป็นสุข” 
          ในปี  2553-2554  กรมการพัฒนาชุมชน จึงได้ศึกษาแนวคิด/ตัวชี้วัด ที่เกี่ยวข้องในการวัด ความ “อยู่เย็น เป็นสุข” เช่น วิสัยทัศน์ประเทศไทยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 กำหนดว่าประเทศไทยจะมุ่งสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข”  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ที่มีเป้าหมายเพื่อความอยู่เย็น เป็นสุข และความสงบสุขของสังคมไทย แนวคิดดัชนีความสุขแห่งชาติ (Gross National Happiness : GNH) ของประเทศภูฏาน เป็นต้น
             จากหลากหลายแนวคิด /ตัวชี้วัด ที่กรมการพัฒนาชุมชน ได้ศึกษา จึงนำมาสู่การพัฒนาตัวชี้วัด  ความ “อยู่เย็น เป็นสุข” หรือ ความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (Gross Village Happiness : GVH) ขึ้น  ประกอบด้วย เกณฑ์การประเมิน 6 องค์ประกอบ 22 ตัวชี้วัด   โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ประเมินผลการดำเนินงาน ที่กรมการพัฒนาชุมชนได้ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดกิจกรรม สร้างความเปลี่ยนแปลงในชุมชน เกิดการอนุรักษ์ เพิ่มมูลค่า และแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นเป้าหมายของการพัฒนา  
3. จำนวนหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการ
กระจายทุกอำเภอ เฉลี่ยอำเภอละ 6-7 หมู่บ้าน  รวม 5,427 หมู่บ้าน เช่น จังหวัดเชียงราย 18 อำเภอ มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ                รวม 111 หมู่บ้าน  เช่น บ้านไร่ หมู่ที่ 7 ตำบลแม่เงิน อำเภอเชียงแสน
จังหวัดขอนแก่น  26 อำเภอ มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
รวม 159 หมู่บ้าน เช่น บ้านทรายมูล หมู่ที่2 ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง
จังหวัดนครศรีธรรมราช 23 อำเภอ มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
 รวม 141 หมู่บ้าน เช่น บ้านบ่อน้ำซับ หมู่ที่1 ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา
จังหวัดชลบุรี 11 อำเภอ มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
 รวม 68 หมู่บ้าน เช่นบ้านหนองงูเหลือม หมู่ที่ 7 ตำบลท่าบุญมี
จังหวัดนครสวรรค์ 15 อำเภอ มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
 รวม 92 หมู่บ้าน เช่นบ้านเขาดิน หมู่ที่ 12 ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี
4. ความร่วมมือของหน่วยงานอื่นๆ
 ใช้พื้นที่ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เป็นพื้นที่ในการบูรณาการตามภารกิจ และการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ รวม 17 หน่วยงาน ได้แก่ 1) หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย  2) กรมส่งเสริมการเกษตร 3) กรมพัฒนาที่ดิน 4) กรมประมง 5) กรมปศุสัตว์ 6) กรมการข้าว 7) กรมส่งเสริมสหกรณ์  8) สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  9) กรมอุทยานแห่งชาติ 10) องค์การสวนสัตว์ 11) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 12) กรมการพัฒนาชุมชน 13) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 14)สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 15) มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 16) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 17) ศอ.บต.
โดยมีหน่วยงานสนับสนุน 3 หน่วยงาน ได้แก่
1) สำนักงบประมาณ        
2) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ          
3) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
5. การคัดเลือกพื้นที่
 การคัดเลือกพื้นที่ดำเนินการในแต่ละปี มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
     1)  ต้องเป็นหมู่บ้านที่มีการประเมินและจัดระดับ ด้วยเกณฑ์การประเมินของ กระทรวงมหาดไทย (4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด) จัดระดับดังนี้
          - ระดับ “พออยู่ พอกิน” ผ่าน 10-16 ตัวชี้วัด 
          - ระดับ “อยู่ดี กินดี”     ผ่าน 17-22 ตัวชี้วัด 
          - ระดับ “มั่งมี ศรีสุข”    ผ่าน 23 ตัวชี้วัด 
    2)  เป็นไปตามลำดับที่จังหวัด/อำเภอ จัดไว้ แต่ต้องเป็นหมู่บ้านที่ผู้นำและคนในหมู่บ้านมีความพร้อมในการพัฒนา

No comments:

CDD Photo Album