Thursday 15 May 2014

We always work for people ,by people lower poverty and good participate รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี 2557 “การพัฒนาคนในบริบทประชาคมอาเซียน”

 We always work for people ,by people lower poverty and good participate  รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี 2557 “การพัฒนาคนในบริบทประชาคมอาเซียน” 
รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี 2557 “การพัฒนาคนในบริบทประชาคมอาเซียน” 

สรุปภาพรวม
รายงานฉบับนี้เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นโดยอิสระโดยได้รับมอบหมายจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP)  บทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ปรากฏในรายงานฉบับนี้มิได้สะท้อนความคิดเห็นของรัฐบาลไทย ยูเอ็นดีพีคณะกรรมการบริหารหรือประเทศสมาชิกของยูเอ็นดีพี รายงานฉบับนี้เป็นผลิตผลความร่วมมือของคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิและคณะทำงานรายงานการพัฒนาคนของยูเอ็นดีพีประเทศไทย

ในวันสุดท้ายของปี 2558 คนไทยจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนขณะนี้ยังประเมินผลที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตคนไทยได้ยากประชาคมอาเซียนเป็นแนวคิดซึ่งแตกต่างจากการรวมกลุ่มระดับภูมิภาคอื่นๆ
ปัจจุบันมีแผนงาน 3 ฉบับที่เป็นกรอบอ้างอิงหลักแต่ประชาคมอาเซียนจะเป็นอะไรและจะมีผลกระทบอย่างไรต่อการพัฒนาคนนั้นขึ้นกับวิธีการที่รัฐบาลของประเทศสมาชิกจะดำเนินการเพื่อแปลงแผนงานเหล่านี้ไปสู่การปฏิบัติ

1. การพัฒนาคนในประเทศไทย: ความสำเร็จและความท้าทายสำคัญ
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme - UNDP) ได้ใช้ดัชนีการพัฒนาคน(Human Development Index - HDI) ในการติดตามสถานการณ์การพัฒนาคนของแต่ละประเทศ
ประเทศไทยมีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปีในปี 2556 ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 103 จากทั้งหมด 186 ประเทศซึ่งนับเป็นลำดับต้นๆของกลุ่มประเทศที่มี การพัฒนาคนระดับปานกลางตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา UNDP ประเทศไทยได้ติดตามการพัฒนาคนในประเทศไทยโดยใช้ดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index - HAI) ซึ่งเป็นดัชนีที่ครอบคลุมประเด็นสำคัญของการพัฒนาคนที่ประยุกต์มาจาก HDI ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยภาพรวมของแนวโน้มการพัฒนาคนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีบทบาทสำคัญในการกำหนดมุมมองด้านการพัฒนาคนของรายงานฉบับนี้

ปัจจุบันคนไทยเกือบทั้งหมดได้รับการคุ้มครองจากระบบประกันสุขภาพส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการประกาศใช้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเมื่อปี 2544 อายุคาดเฉลี่ยของประชากรเพิ่มขึ้นประมาณ 3 ป
ีนอกจากนี้ระบบการคุ้มครองทางสังคมรูปแบบอื่นๆมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างไรก็ตามยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเช่นรายได้ที่เพิ่มขึ้นและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ประชาชนเข้าถึงการศึกษาได้มากขึ้นอัตรานักเรียนต่อประชากรวัยเรียนและจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นแต่คุณภาพการศึกษาทุกระดับยังเป็นความท้าทายสำคัญและยังมีปัญหาความไม่เสมอภาคทางการศึกษา
รายได้เฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องความยากจนลดลงแต่ความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้และความมั่งคั่งยังอยู่ในระดับสูงสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่เป็นเรื่องที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษความเสื่อมโทรมเกิดจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสถาบันครอบครัวมีความตึงเครียดสูงอัตราการหย่าร้างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและหนึ่งในสามของครัวเรือนไทยมีหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้สูงอายุ

รัฐบาลไทยได้วางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมาหลายปีแล้ว
มีการกำหนดนโยบายหลายด้านไว้รองรับสถาบันการศึกษาสถาบันการเงินและองค์กรธุรกิจได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจรายงานการศึกษาเหล่านี้มีข้อสรุปคล้ายคลึงกันเกี่ยวกับเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ด้วยการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทักษะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการเพิ่มความสามารถของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม


รายงานฉบับนี้สนับสนุนความคิดเห็นดังกล่าว
แต่จะไม่นำเสนอประเด็นเหล่านี้ซ้ำอีกโดยจะให้ความสำคัญกับการนำเสนอเรื่องผลกระทบของประชาคมอาเซียนที่มีต่อการพัฒนาคนของประเทศไทยผ่านมิติอื่นๆนอกจากการเติบโตทางเศรษฐกิจประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอได้แก่การศึกษาการคุ้มครองทางสังคมและสุขภาพผู้ย้ายถิ่นสิ่งแวดล้อมการพัฒนาจังหวัดรอบนอกความมั่นคงและสิทธิมนุษยชนชุมชนประวัติศาสตร์และประชาชน


2. ประชาคมอาเซียนคืออะไร
ความคาดหวังความกังวลและแผนงานหลักสังคมไทยตื่นเต้นกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากมีทั้งความคาดหวังและความห่วงใยเรื่องนี้ได้รับความสนใจและสร้างความกระตือรือร้นทั้งในภาครัฐและเอกชนแต่บางกลุ่มมีความวิตกกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการแข่งขันในตลาดแรงงานและการแย่งชิงทรัพยากรซึ่งคาดว่าผู้ที่เข้มแข็งจะได้รับประโยชน์และผู้อ่อนแอจะสูญเสียนอกจากนี้ยังเกรงว่าประชาชนคนธรรมดาจะมีปากเสียงในการกำหนดนโยบายน้อยลงไปอีกและห่วงใยว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะต้องแลกด้วยความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้าง ตลาดและฐานการผลิตร่วมโดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการการลงทุนและแรงงานที่มีทักษะฝีมืออย่างเสรีรวมทั้งการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้นเขตการค้าเสรีที่วางแผนกันมากว่าสองทศวรรษจะดำเนินการเกือบเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2558 และหลายฝ่ายก็เริ่มรู้สึกถึงผลกระทบแล้วแต่ยังมีความคืบหน้าไม่มากนักในการดำเนินงานแผนงานอื่นๆเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายการลงทุนบริการและแรงงานที่มีทักษะฝืมือ


ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community - APSC) เป็นการยืนยันบทบาทด้านความมั่นคงในรูปแบบเดิมของอาเซียนและขยายไปถึงความมั่นคงรูปแบบใหม่ๆที่เกิดขึ้นในระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมานอกจากนี้ยังรวมการแสดงเจตจำนงที่จะส่งเสริมประชาธิปไตยหลักนิติธรรม
สิทธิมนุษยชนธรรมาภิบาลและการควบคุมการทุจริตคอรัปชั่นโดยแผนงานAPSC มีวิสัยทัศน์ว่าอาเซียนจะเป็น ประชาคมที่มีกติกาและมีการพัฒนาค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกันเรื่องนี้จะมีผลในทางปฏิบัติอย่างไรจะต้องติดตามกันต่อไปขณะนี้อาเซียนได้เริ่มดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนและการจัดการข้อขัดแย้งแล้ว


หัวข้อแรกของแผนการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) คือ การพัฒนาคนที่ระบุประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางทั้งการศึกษาสุขภาพชีวิตการงานความยากจนสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของชุมชนจะต้องมีการพัฒนากลไกการทำงานใหม่ๆอีกมากเพื่อขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จอย่างไรก็ดีนับว่าแผนงาน ASCC ได้แสดงความมุ่งมั่นที่น่าชื่นชม


3. การศึกษาสำหรับคนรุ่นใหม
.
แม้ว่าประชาคมอาเซียนได้วางแผนเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานไว้อย่างจำกัดและพบอุปสรรคหลายด้านในการดำเนินงานแต่ข้อเท็จจริงคือการเคลื่อนย้ายแรงงานในภูมิภาคเกิดขึ้นมานานแล้วและมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น
ประชาคมอาเซียนเปิดโอกาสให้คนไทยรุ่นใหม่ได้รับการจ้างงานที่ดีขึ้นและมีชีวิตที่เพียบพร้อมมากขึ้นแต่ผู้ที่จะสามารถใช้โอกาสนี้จะต้องมีทักษะด้านภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาประเทศสมาชิกอาเซียนนอกจากนี้ยังต้องมีคุณสมบัติที่จำเป็นต่อการจ้างงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการบางสาขาที่มีอัตราการขยายตัวสูงเช่นเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศและสามารถปรับตัวและมีความพร้อมที่จะทำงานในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันด้วย

ในสองทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยได้ขยายการเข้าถึงการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษาได้มากแม้จะเป็นเรื่องน่าชื่นชมแต่ก็ยังมีจุดอ่อนที่สำคัญสองประการ
ประการแรกคือคุณภาพการศึกษาของไทยตกต่ำลงผลการทดสอบระหว่างประเทศของนักเรียนไทยยังไม่ดีพอและในบริบทประชาคมอาเซียนการขาดทักษะภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่น่าห่วงใยมาก
ประการที่สองผลผลิตของระบบการศึกษาไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานมีผู้เรียนอาชีวศึกษาจำนวนน้อยเกินไปและยังขาดการพัฒนาทักษะสำหรับการทำงานจริง

งานศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นถึงการขาดระบบความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องทุกระดับตั้งแต่ระดับโรงเรียนถึงระดับกระทรวงนอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื้อรังเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงบริการและปัญหาคุณภาพการศึกษาที่แตกต่างกันเยาวชนจากครัวเรือนที่มีรายได้สูงที่สุด (ควินไทล์ที่ 5) มีโอกาสดีกว่าเยาวชนจากครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ (ควินไทล์ที่ 1) ถึง 6 เท่าที่จะเข้าเรียนระดับอุดมศึกษานักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่ยากจนมีผลการทดสอบระดับนานาชาติต่ำกว่านักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่รายได้สูงมากความไม่เสมอภาคเหล่านี้ทำให้เด็กจำนวนมากขาดโอกาสในชีวิตและประเทศชาติต้องสูญเสียประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากศักยภาพของเด็กเหล่านี้

การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทำให้เกิดความตื่นตัวที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวกระทรวงศึกษาธิการได้ริเริ่มแผนงานโครงการจำนวนมากและเน้นการพัฒนาสมรรถนะภาษาอังกฤษทักษะการทำงานและอาชีวศึกษา
นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนยกลางด้านอาชีวศึกษาของอาเซียน

การบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่นในการดำเนินการอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องยิ่งกว่านั้นในยุคที่ตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจำเป็นที่จะต้องลงทุนเพิ่มเติมให้มีสถานที่และอุปกรณ์เพียงพอที่จะฝึกอบรมทักษะใหม่ๆให้แรงงานสาขาต่างๆและควรมีแผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เสมอภาคทางการศึกษาอย่างจริงจัง


4. การคุ้มครองทางสังคมและสุขภาพ: ความสำเร็จอย่างยั่งยืนภายใต้แรงกดดันในระยะเวลากว่าทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการจัดให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและได้ขยายการคุ้มครองทางสังคมหลายด้านแต่ก็ยังมีเรื่องที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้หลักประกันทางสังคมแกแรงงานนอกระบบจำนวนมากนอกจากนั้นประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาหลายด้านจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วในการนี้รัฐบาลมีแผนจะจัดการกับความท้าทายนี้ด้วยแนวทางการคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐาน (Social Protection Floor)ความต้องการบริการสุขภาพที่ขยายตัวจะส่งผลให้ความต้องการบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทศวรรษหน้าและประชาคมอาเซียนจะมีส่วนเพิ่มแรงกดดันในปัญหาดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้เป็นการยากที่จะประเมินความต้องการที่เพิ่มขึ้นเพราะมีมูลเหตุหลายด้านแรงงานข้ามชาติทักษะต่ำจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในประเทศในลักษณะกึ่งถาวรเป็นปัญหาที่ต้องดูแลเป็นพิเศษความต้องการบริการสุขภาพจากสถานบริการภาคเอกชนกำลังขยายตัวพร้อมกันนี้รัฐบาลก็มีนโยบายจะส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการท่องเที่ยวสำหรับผู้เกษียณอายุและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยในสองทศวรรษข้างหน้าจะส่งผลให้ความต้องการบริการสุขภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย

บริการทางการแพทย์เป็นสาขาหนึ่งที่จะเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแม้ประเทศสมาชิกยังไม่ได้กำหนดรายละเอียดแต่มีความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะต้องพบปัญหาคนไข้จากประเทศเพื่อนบ้านมาใช้บริการมากขึ้นในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ถูกดึงไปทำงานที่ประเทศอื่นในอาเซียนประเทศไทยมีอัตราส่วนบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากรต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนอื่นๆเมื่อการขาดแคลนรุนแรงขึ้นบุคลากรทางการแพทย์จะถูกดึงจากโรงพยาบาลของรัฐไปสถานบริการเอกชนกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญคือโรงพยาบาลในชนบทและสถานพยาบาลต่างๆที่แพทย์มีภาระงานมากและขาดแคลนทรัพยากรดังนั้นรัฐบาลไทยจำเป็นต้องวางแผนด้วยความระมัดระวังเพื่อจัดการกับแรงกดดันเหล่านี้พร้อมกันนี้ควรใช้กลไกของ AEC ดึงดูดบุคลากรทางการแพทย์จากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามาทำงานในประเทศไทยด้วยเช่นกันในระยะยาวประเทศไทยควรให้ความช่วยเหลืออาเซียนในการพัฒนาระบบประกันสังคมและการดูแลสุขภาพให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกัน

5. ประชากรข้ามพรมแดน: แรงงานข้ามชาติที่มีทักษะฝีมือต่ำแม้ว่าเงื่อนไขของอาเซียนเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานมุ่งเน้นไปที่กลุ่มแรงงานที่มีทักษะฝีมือซึ่งอาจใช้เวลานานกว่าจะเห็นผลแต่ปัจจุบันมีการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะฝีมือต่ำภายในประเทศอาเซียนเป็นจำนวนมากในเดือนธันวาคม 2555 มีแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียน 1.1 ล้านคนจากเมียนมาร์กัมพูชาและลาวทำงานในประเทศไทยและประมาณการว่ามีแรงงานข้ามชาติทั้งหมดในประเทศไทย 2-4 ล้านคนงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่าแรงงานเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ประเทศไทยได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติมากว่าทศวรรษแต่ขณะนี้ยังมีแรงงานจำนวนมากที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่มีเอกสารหลักฐานและอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกแสวงหาประโยชน์และถูกละเมิดสิทธิรูปแบบต่างๆโรงเรียนโรงพยาบาลและบริการทางสังคมอื่นๆได้พยายามรองรับและดูแลแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ด้วยความรู้สึกเห็นอกเห็นใจและมักให้บริการก่อนและเกินกว่าที่นโยบายของรัฐกำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมาโรงเรียนหลายแห่งรับเด็กย้ายถิ่นเข้าเรียนโดยไม่คำนึงถึงสถานะทางสัญชาติและตั้งแต่ปี 2553 โรงพยาบาลได้รับงบประมาณสนับสนุนการรักษาพยาบาลโดยไม่คำนึงถึงสถานะทางสัญชาติเช่นเดียวกันอย่างไรก็ตามแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการเหล่านี้ด้วยสาเหตุหลายประการรวมทั้งที่เกิดจากลักษณะพิเศษของผู้รับบริการเองด้วยปัจจุบันแรงงานข้ามชาติได้กระจายไปแทบทุกภาคเศรษฐกิจและทุกพื้นที่ของประเทศ
แม้ว่านโยบายของไทยจะตั้งอยู่บนฐานคิดว่าแรงงานเหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวในช่วงการเปลี่ยนผ่านของตลาดแรงงานไทยแต่ในข้อเท็จจริงแรงงานข้ามชาติจำนวนมากได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานาน
หรืออาศัยอยู่แบบกึ่งถาวรนอกจากนั้นยังมีความแตกต่างของระดับรายได้ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยจึงประเมินได้ว่าการเคลื่อนย้ายแรงงานจะไม่ลดลงในอนาคตอันใกล.
ถ้ามีมุมมองระยะยาวในเรื่องนี้ไทยจะได้รับประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติมากขึ้นในขณะที่แรงงานข้ามชาติก็จะมีความเสี่ยงลดลงและได้ประโยชน์มากขึ้นจากการทำงานในประเทศไทยทั้งนี้ควรรวมแรงงานข้ามชาติที่มีเอกสารหลักฐานถูกต้องไว้ในระบบหลักประกันสุขภาพการคุ้มครองทางสังคมและกฎหมายแรงงานและในกระบวนการวางแผนต่างๆควรคำนึงถึงและวางแผนให้ครอบคลุมแรงงานข้ามชาติจำนวนมากนี้ด้วย

6. สิ่งแวดล้อม: ทำลายมากขึ้นหรือจัดการดีขึ้นปัจจุบันหลายฝ่ายวิตกว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยประชาคมอาเซียนจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานอย่างเกินขอบเขตมีของเสียจากชุมชนและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นรวมทั้งมีการตัดไม้ทำลายป่าและการค้าสัตว์ป่าการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่าอันเนื่องมาจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวและการปลูกพืชเชิงเดี่ยวการเคลื่อนย้ายสารเคมีและของเสียอันตรายข้ามพรมแดนอย่างผิดกฎหมายการปนเปื้อนของจีเอ็มโอและมลพิษ

นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชี้ว่าสิ่งแวดล้อมได้รับการเสนอให้เป็นเสาหลักที่สี่ของประชาคมอาเซียนแต่ต่อมาถูกลดความสำคัญลงเป็นเพียงหัวข้อหนึ่งภายใต้ ASCC ซึ่งอาจแสดงว่าประเด็นสิ่งแวดล้อมจะถูกปล่อยปละละเลย
แต่เมื่อพิจารณาอีกด้านหนึ่งจะพบว่าASCC ตั้งความหวังไว้สูงมากเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและได้กำหนดมาตรการต่างๆไว้อย่างกว้างขวาง

อาเซียนมีศักยภาพสูงที่จะจัดการประเด็นสิ่งแวดล้อมเพราะเป็นเรื่องที่ไม่จำกัดอยู่ภายในเขตแดนแต่ละประเทศ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือปัญหา หมอกควันหรือมลพิษทางอากาศที่มีสาเหตุจากไฟป่าและไฟไหม้พื้นที่พรุประเทศสมาชิกอาเซียนมีความริเริ่มที่จะดำเนินการเรื่องนี้ทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาคตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1980 จนนำไปสู่ข้อตกลงเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดน (Agreement on Tranboundary Haze Pollution) ในปี 2545 นับเป็นต้นแบบที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกสำหรับการจัดการประเด็นปัญหาข้ามพรมแดน
แต่การแปลงข้อตกลงไปสู่การปฏิบัติพบอุปสรรคมากและต้องมีการเจรจากันหลายรอบจนกระทั่งในป.2555 อินโดนีเซียได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกับอีก 4 ประเทศอาเซียน (บรูไนสิงคโปร์มาเลเซียและไทย) เพื่อจัดการกับปัญหานี้

อาเซียนยืนยันว่าการดำเนินการตามหลักฉันทามตินั้นได้ผลแม้บางครั้งต้องใช้เวลาและเรื่องราวของความพยายามควบคุมหมอกควันดูเหมือนจะสนับสนุนทัศนคติเชิงบวกนี้ในกรณีพายุไซโคลนนาร์กิสถล่มเมียนมาร์ในปี 2551 อาเซียนก็สามารถตอบสนองอย่างรวดเร็วด้วยการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อบรรเทาความช่วยเหลือจากภัยพิบัติในกรณีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งต้องรีบเร่งจัดการกับปัญหาอาเซียนก็ตอบสนองได้ค่อนข้างรวดเร็วด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน (ASEAN Action Plan on Joint Response to Climate Change) ในปี 2555 ซึ่งประเทศไทยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการส่งเสริมงานวิจัยและการสร้างเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแนวทางหนึ่งในการปรับปรุงระบบการทำงานของอาเซียนโดยยังคงยึดถือหลักการสำคัญที่ยึดมั่นมาเป็นเวลานานคือการเปิดทางให้ภาคประชาสังคมมีบทบาทมากขึ้นในการปรึกษาหารือและดำเนินการต่างๆ

7. การพัฒนาจังหวัดรอบนอกหนึ่งในวิสัยทัศน์ของ AEC คือการสร้าง ภูมิภาคที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกันปัจจุบันความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้ของประเทศไทยยังอยู่ในระดับสูงและปัจจัยเชิงพื้นที่เป็นสาเหตุสำคัญผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัดต่อหัวประชากรของจังหวัดที่รวยที่สุดและจนที่สุดแตกต่างกันถึง 29 เท่า
แผนแม่บทการเชื่อมโยงระหว่างกันภายในอาเซียน (ASEAN Connectivity) มีแนวคิดว่าการลดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและการพัฒนาการสื่อสารที่ดีจะช่วยลดช่องว่างเชิงพื้นที่ขณะนี้กำลังมีการพัฒนาโครงข่ายถนนและแนว ระเบียงเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงจุดต่างๆบนแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และการประเมินเบื้องต้นชี้ว่าเมืองและจังหวัดที่อยู่ตามแนวเส้นทางเหล่านี้จะได้ประโยชน.การค้าชายแดนและการลงทุนขยายตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองชายแดนที่คนสองฝั่งมีความผูกพันกันทางวัฒนธรรมโดยไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมาย

ปัจจุบันเศรษฐกิจเฟื่องฟูในจุดข้ามแดนบนแนวเส้นทางสายใหม่แต่คนท้องถิ่นกลับรู้สึกว่าผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับคนภายนอกเนื่องจากพวกเขาไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารและถูกกีดกันจากนโยบายที่จัดทำจากภายนอก

รัฐบาลมีนโยบายจะใช้เส้นทางเหล่านี้เป็นกรอบการพัฒนาภูมิภาคต่างๆแต่ยังคงมีปัญหาในทางปฏิบัติการวางแผนอนาคตของเส้นทางเหล่านี้จำเป็นต้องมีจุดเน้นที่ชัดเจนมากขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเมืองชายแดนรวมทั้งให้มีการกระจายประโยชน์สู่เมืองอื่นๆที่อยู่พื้นที่ตอนในของประเทศ

8. ความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน
APSC ได้ขยายขอบเขตพันธกิจด้านความมั่นคงใน 3 ด้าน
ประการแรกอาเซียนได้กำหนดประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ (non traditional security) ที่อาเซียนจะดำเนินงานหลายประเด็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่มีผลกระทบข้ามแดน
ประการที่สองคือการขยายบทบาทเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิก
และประการที่สามคือการกำหนดเป้าหมายจะสร้างประชาคมที่มีกติกาและมีการพัฒนาค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกันโดยจะมุ่งเน้นเรื่อง การเสริมสร้างประชาธิปไตยหลักธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรมและส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

สำหรับประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่เรื่องการควบคุมโรคระบาดการบรรเทาภัยพิบัติและอาชญากรรมข้ามชาติอาเซียนได้พิสูจนว่ามีศักยภาพที่จะเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติซึ่งมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรอย่างค่อยเป็นค่อยไป


ในปี 2555 ได้มีการก่อตั้งสถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและสมานฉันท์ (ASEAN Institute for Peace and econciliation - AIPR) ขึ้นแม้ว่าสถาบันนี้ถูกกำหนดบทบาทให้เป็นสถาบันวิจัยมากกว่าเป็นกลไกแก้ไขข้อพิพาท
แต่นักสังเกตการณ์บางคนวิเคราะห์ว่าการก่อตั้งAIPR เป็นการส่งสัญญาณว่าอาเซียนสามารถเอาชนะความไม่เต็มใจที่จะหารือกันในประเด็นข้อพิพาทภายในหรือระหว่างประเทศสมาชิกกลไกด้านสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคของอาเซียนกลายเป็นประเด็นถกเถียงระหว่างฝ่ายต่างๆในระยะแรกของการก่อตั้งมีคำถามว่าหลักการของอาเซียนที่จะไม่แทรกแซงกิจการภายในจะเป็นอุปสรรคต่อการที่อาเซียนจะดำเนินการตามพันธกิจการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในภูมิภาคหรือไม
.

การริเริ่มใหม่ๆที่เป็นการขยายขอบเขตการดำเนินงานด้านความมั่นคงยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น
และทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับสมรรถนะของกลไกที่มีอยู่ในปัจจุบันในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญยิ่งต่อพันธกิจการพัฒนาคนและสมควรที่จะได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง

9. ชุมชนประวัติศาสตร์และประชาชนในความคิดเห็นของคนทั่วไป
อาเซียนเป็นองค์กรที่มีความเป็นราชการสูงและบางครั้งอาเซียนก็นิยามตัวเองว่าเป็น องค์กรระหว่างรัฐบาลซึ่งแตกต่างจาก องค์กรของประชาชนแต่การใช้คำว่า ประชาคมแสดงนัยของการเปลี่ยนแปลงหมายถึงประชาชนจะมีส่วนร่วมมากขึ้นถ้าอาเซียนจะสร้างแรงขับเคลื่อนจากภายในเพื่อให้เจตจำนงของอาเซียนบรรลุผลก็ต้องสนับสนุนให้ ประชาคมนี้หยั่งรากอย่างยั่งยืนคำถามคือจะทำอย่างไร

คำอธิบายต่างๆเกี่ยวกับอาเซียนมักเน้นถึงความหลากหลายทั้งในด้านภาษาชาติพันธ์ุระดับความก้าวหน้าทางศรษฐกิจระบบการเมืองศาสนาฯลฯแต่คำอธิบายเหล่านี้จะนำไปสู่การลดทอน ความรู้สึกเป็นประชาคม ทางเลือกอีกแนวทางหนึ่งที่ควรพิจารณานั่นคือการให้ความสำคัญกับสิ่งที่ประชาชนของประเทศสมาชิกมีร่วมกันได้แก่ทำเลที่ตั้งในภูมิศาสตร์เดียวกันหรือมีตำแหน่งแห่งที่เดียวกันบนโลกใบนี้ประวัติศาสตร์ที่มีร่วมกันมายาวนานและประสบการณ์ร่วมในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นยุคอาณานิคมยุคหลังอาณานิคมยุคพัฒนาและยุคโลกาภิวัตน
.
ประวัติศาสตร์ของชาติสมาชิกอาเซียนยกร่างขึ้นในยุคของการสร้างชาติจึงมักบรรยายถึงประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะคู่แข่งเพื่อสร้างความรู้สึกเป็นเอกภาพของคนในชาติประวัติศาสตร์แบบนี้ได้ตอบโจทย์ของยุคสมัยแล้ว
และขณะนี้ควรทดแทนด้วยประวัติศาสตร์ของการแบ่งปันและเรียนรู้สิ่งที่ประเทศต่างๆมีร่วมกัน

ประชาคมหรือชุมชนเกิดขึ้นเมื่อมีคนจำนวนหนึ่งจินตนาการว่าพวกเขามีบางสิ่งบางอย่างเหมือนกันจินตนาการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อพวกเขาได้พบปะและมีประสบการณ์ร่วมกันชุมชนจะต้องมีสถานที่พบปะกันโดยเฉพาะ เก้าอี้นั่งเล่นในสวนสถานที่ซึ่งคนในชุมชนสามารถแลกเปลี่ยนและแบ่งปันกันในขณะที่โลกไซเบอร์อาจทดแทนการพบปะโดยตรงได้ในระดับหนึ่งแต่ศูนย์เรียนรู้และศูนย์ความเป็นเลิศจะมีบทบาทสำคัญในฐานะจุดเชื่อมโยงของชุมชนแห่งใหม่จึงควรสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง

อาเซียนได้พัฒนาช่องทางที่จะเชื่อมประสานกับโลกภายนอกในด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจการที่อาเซียนจะประสบความสำเร็จในการขยายบทบาทด้านสังคมและวัฒนธรรมจำเป็นที่จะต้องมีกลไกที่จะเชื่อมประสานกับภาคประชาสังคม

10. บทสรุป: ข้อเสนอแนะสำคัญ
การก่อตั้งประชาคมอาเซียนนับเป็นการขยายขอบเขตของการรวมกลุ่มจากความร่วมมือด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจให้ครอบคลุมประเด็นที่สำคัญต่อการพัฒนาคนประชาคมที่จะเกิดขึ้นปลายปี 2558 นี้เป็นงานที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาคนของประเทศไทยในบริบทประชาคมอาเซียนจึงไม่หยุดอยู่เพียงการเตรียมประเทศไทยให้สามารถใช้โอกาสและรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นแต่จะต้องสนับสนุนให้ไทยมีส่วนร่วมในการผลักดันให้ประชาคมอาเซียนพัฒนาไปในแนวทางที่จะเกื้อหนุนการพัฒนาคนด้วย

ให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษและบรรจุเรื่องความเสมอภาคไว้ในวาระการศึกษาการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทำให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษาในทุกระดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมรรถนะด้านภาษาและอาชีวศึกษาภารกิจเช่นนี้ต้องการการยืนหยัดและความอดทนเพราะจะต้องใช้เวลานานกว่าจะบรรลุผลนอกจากนี้จำเป็นต้องแก้ไขความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงระบบการศึกษาเพราะเป็นการลิดรอนโอกาสที่เยาวชนจำนวนมากจะเติมเต็มศักยภาพของตนเองและลดทอนโอกาสที่ประเทศชาติจะได้ประโยชน์จากความสามารถของคนเหล่านี้

การเผชิญหน้ากับความท้าทายรอบด้านในการดูแลสุขภาพบุคลากรในระบบสุขภาพภาครัฐต้องเผชิญกับแรงกดดันรอบด้านที่เกิดจากการขยายตัวของระบบสุขภาพถ้วนหน้าปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติแรงกดดันจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุการแข่งขันแย่งชิงบุคลากรจากโรงพยาบาลเอกชนและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการท่องเที่ยวในกลุ่มผู้เกษียณอายุรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นจากพลวัตรของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนับเป็นความท้าทายที่ยากต่อการรับมือเพราะประเด็นที่เกี่ยวข้องหลากหลายและยากจะคาดการณ์การเผชิญหน้ากับปัญหาอย่างทันท่วงทีมีความสำคัญยิ่งต่อการรักษาไว้ซึ่งระบบบริการดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนส่วนใหญ.

แรงงานข้ามชาติ: สถานภาพการศึกษาสุขภาพภารกิจที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคนที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติมี 3 เรื่อง
หนึ่ง
เพิ่มความพยายามที่จะทำให้ผู้ย้ายถิ่นมีสถานะถูกต้องตามกฎหมาย
เพื่อลดปัญหาการค้ามนุษย์และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
สอง
ขจัดอุปสรรคในการเข้ารับการศึกษาของลูกหลานแรงงานข้ามชาติเพื่อพวกเขาจะได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเองและมีทางเลือกในการดำรงชีวิต
และ
สาม
พัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ดีสำหรับแรงงานข้ามชาติโดยมิให้กระทบต่อบริการที่ให้แก่คนไทย

การวางแผนพัฒนาจังหวัดรอบนอก
จำเป็นต้องวางแผนระดับภูมิภาคโดยกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อเก็บเกี่ยวประโยชน์สูงสุดจากแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจในจังหวัดรอบนอกคนในท้องถิ่นควรได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นและได้
รับเชิญให้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและโครงการสำคัญในพื้นที่

สิ่งแวดล้อม: ทำให้กรณีหมอกควันเป็นตัวอย่างความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมของประชาคมอาเซียนประเทศไทยควรมุ่งมั่นแก้ปัญหาหมอกควันผ่านกระบวนการความร่วมมือเพื่อพัฒนาประสบการณ์และกลไกที่เหมาะสมสำหรับการจัดการประเด็นสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนอื่นๆ

สิทธิมนุษยชน: สำคัญเกินกว่าจะยอมแพ้รัฐบาลไทยองค์กรสิทธิมนุษยชนและองค์กรต่างๆที่เคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนควรยืนยันความมุ่งมั่นที่จะพัฒนากลไกด้านสิทธิมนุษยชนภายในอาเซียนให้เข้มแข็ง

บ่มเพาะประชาคม: เชื่อมโยงประชาชน
ความมุ่งประสงค์ของอาเซียนในเรื่องความมั่นคงความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาคนจะประสบความสำเร็จง่ายขึ้นเมื่อประชาชนชาติสมาชิกมีความรู้สึกเป็นเพื่อนร่วมชุมชนแทนที่จะรู้สึกแปลกแยกแตกต่างเช่นในอดีตการปรับเปลี่ยนจากประวัติศาสตร์ยุคสร้างชาติในศตวรรษที่ผ่านมาที่เน้นการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศที่ตอบสนองความต้องการของคนทั้งภูมิภาคการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนกับระชาชน

และการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในกิจการของอาเซียนเป็นปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ










15 May 14 กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน จัดประชุมคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. และข้อมูลพื้นฐาน ปี 2557 จังหวัดชัยนาท โดยมีนางพรรณี งามขำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท เป็นประธานคณะทำงานฯ นายสมคิด มุสิกอินทร์ พัฒนาการจังหวัดชัยนาท เลขานุการฯ ณ ห้องประชุมหลวงปู [Announcement] 



15 May 14 สพอ. เวียงเก่าดำเนินงานตามโครงการส่งเเสริมและพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ กิจกรรม การเตรียมเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ 


15 May 14 จังหวัดอ่างทอง...นายอัศวิน หนูจ้อย พัฒนาการจังหวัดอ่างทอง ตรวจเยี่ยมกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ตำบลบางเจ้าฉ่า โครงการฝึกอบรมผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ด้านการท่องเที่ยว วันที่ 14 พฤษภาคม 2557 [Announcement]  
15 May 14 <<<ชลบุรี>>>เปิดหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวบ้านเกาะขามใหญ่ ต.ท่าเทววงษ์ อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2557 โดยได้รับเกียรติจากนายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธาน และนายอดิศร เทพเสนา นายอำเ [Announcement] 

สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Development Programme - UNDP) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้ร่วมกันจัดทำรายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี 2557 ในหัวข้อ การพัฒนาคนในบริบทของประชาคมอาเซียนโดยให้
ความสำคัญกับมุมมองต่อบริบทใหม่ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงของประชาคมอาเซียน ที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคนและชุมชนในประเทศไทย
รายงานฉบับนี้ ยกประเด็นสำคัญของความสำเร็จของประเทศไทย
1.       การส่งเสริมระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
2.       การยกระดับการเข้าถึงการศึกษา
3.       รวมทั้งความท้าทายในการเตรียมพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งประชาคมอาเซียน ทั้งในด้านความไม่เท่าเทียมของการเข้าถึงการศึกษา
4.       การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว
5.       ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.       ข้อจำกัดของแรงงานข้ามชาติทักษะต่ำในการเข้าถึงบริการต่างๆ ของรัฐ
7.       ความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน
8.       และการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับชุมชน
ประเด็นที่เกี่ยวข้องและสามารถนำมาเป็นข้อสังเกตเกี่ยวกับงานพัฒนาชุมชนโดยภาพรวม
การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับชุมชน   อ้างตามเรื่อง ประชาคมอาเซียน กับชุมชน หน้า 97
1.       เรื่องการลดความยากจน
·    การสนับสนุนปฎิบัติการของชุมชน ได้แก่กิจกรรมที่ริเริ่มโดยชุมชนของรัฐสมาชิกอาเซียนเพื่อลดความยากจน


http://www.th.undp.org/thailand/en/home.html


http://www.dailynews.co.th/Content/economic/227188
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสห ประชาชาติ (United Nations Development Program : UNDP) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ร่วมกันจัดทำรายงานการพัฒนาคนของประเทศไทยปี 2557 ในหัวข้อ การพัฒนาคนในบริบทประชาคมอาเซียนโดยให้ความสำคัญกับมุมมองต่อบริบทใหม่ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงของประชาคมอาเซียน ที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคนและชุมชนในประเทศไทย
ในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ประชากรไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วยประชากรประมาณ 600 ล้านคนหรือราว 9 เท่าของจำนวนประชากรไทยในปัจจุบัน สังคมไทยมีความตื่นตัวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะในแง่ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียน การค้า และบริการอย่างเสรี และที่ผ่านมาเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมักจะได้รับความสนใจมากกว่าเสาประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน และเสาประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
การที่ประเทศชาติจะมีการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว
แต่ขึ้นอยู่กับการพัฒนาคนภายในประเทศนั้น ๆ ด้วย
ประเทศไทยได้ยกระดับเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง และมีผลของดัชนีชี้วัดการพัฒนาคนที่ก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

ปัญหา
1.ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจยังไม่ได้มีการกระจายอย่างเท่าเทียม ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และการเข้าถึงบริการสาธารณะยังคงอยู่ในระดับที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่มีรายได้ใกล้เคียงกัน
2.รายงานฉบับนี้ยกประเด็นสำคัญของความสำเร็จของประเทศไทย อาทิ การส่งเสริมระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การยกระดับการเข้าถึงการศึกษา การกระจายอำนาจ และการส่งเสริมการเจริญเติบโตของจังหวัดชายแดนที่มีพื้นที่พรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งความท้าทายในการเตรียมพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน
3.ทั้งในด้านความไม่เท่าเทียมของการเข้าถึงการศึกษา การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ข้อจำกัดของแรงงานข้ามชาติทักษะต่ำในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของรัฐ ความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับชุมชน
ที่สำคัญที่สุด รายงานได้แสดงให้เห็นว่าประชาคมอาเซียนไม่ใช่ผลผลิตสุดท้าย แต่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างจริงจังจะนำไปสู่ความเป็นประชาคมที่มีการแลกเปลี่ยนค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน ซึ่งนำไปสู่การส่งเสริมการพัฒนาคนของอาเซียนต่อไป
ดูรายงานฉบับเต็มได้ที่ www.th.undp.org/thailand/en/home.html หรือ http://social.nesdb.go.th/social





15 May 14
แจ้งรายชื่อผู้เข้าอบรมโครงการเสริมสร้า้งประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการทางปกครองแก่ จนท.พช. รุ่น2 วันที่21-23 พค.57 รร.ทีเค พาเลซ+โปรดเผื่อเวลาการเดินทางให้ทันรายงานตัว รายชื่อผู้เข้าอบรม.xlsเส้นทางจราจร.pdf
15 May 14
เรียน พัฒนาการจังหวัด รายงานผลเบิกจ่ายงบประมาณในระบบ BPM และ GFMIS ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2557 จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ผลเบิกจ่าย 12 พ.ค.57.xls
15 May 14
การดำเนินงาน มชช. ปี 2557 หนังสือสั่งการ มชช.57.jpgแนวทาง มชช.57..jpg
15 May 14
การเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2556 Khrueangrat56.rarKhrueangrat56.rar
14 May 14
ประชาสัมพันธ์ : หลักสูตรสตรี เพศสถานะ และเพศวิถีศึกษา มธ. และอบรมฟรีหลักสูตรภาคฤดูร้อน Summer School in Women, Gender and Sexuality Studies ดูรายละเอียดในไฟล์ที่แนบมา MoWSatTU.jpgInv to WS forum.jpg
Hot Issues View all Add new View all
15 May 14
ภาพข่าว : OTOP IN THE CITY 15พค57ข่าวสด
15 May 14
คอลัมน์ : รอบรั้วภูธรคนท้องถิ่น 15พค57เดลินิวส์
14 May 14
คอลัมน์บันทึกสังคม : สพจ.ฉะเชิงเทรา จัดงาน "สีสันภูมิปัญญาสินค้าโอทอป กลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 2" 14 พ.ค.57 ไทยโพสต์.pdf
14 May 14
ภาพข่าว : รวมใจ OTOP 13 พ.ค.57 สยามรัฐ.pdf
14 May 14
เปิดงานสัมมนาการพัฒนาศักยภาพสตรี ไทยรัฐ.pdf
14 May 14
ประชาสัมพันธ์ เชิญชวน*** ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ สังกัดกรมการพัฒนาชุมชน สมัครเป็นสมาชิกการฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ ประเภทสามัญและสมทบ เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับครอบครัว สอบถามรายละเอียด และส่งใบสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป รายละเอียดไฟล์แนบ *** ปชส.1.pdfรายละเอียดฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ.pdfใบสมัคร ฌสพช.doc
13 May 14
12 พฤษภาคม 2557 นายรนัสถ์ชัย พุ่มเจริญ นายอำเภอบ้านฝาง นางสาวสุภา บวรพาณิชย์ พัฒนาการอำเภอบ้านฝาง พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี 2557 ณ วัดบูรพาราม ต cats.jpg

No comments:

CDD Photo Album